
ความเครียดกับภาวะโรคอ้วน: ทําไมเราถึงชอบทานอาหารเวลามีความเครียด
ความรู้สึกเครียดเป็นระยะเวลานานอาจทําให้ความอยากอาหารของเราเปลี่ยนไปได้ สิ่งนี้อาจทําให้เรามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคอ้วน
ปัจจุบัน มีผู้คนที่มีภาวะโรคอ้วนมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนจำนวนไม่น้อยกําลังพยายามที่จะลดนํ้าหนักแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และผู้ที่ลดน้ำหนักสําเร็จมักจะพบว่านํ้าหนักมักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมาเท่าระดับเดิมภายในไม่กี่สัปดาห์ แม้ว่าจะออกกำลังกายและควบคุมแคลอรี่ในการรับประทานอาหารร่วมด้วยก็ตาม
เพื่อทําความเข้าใจว่าอะไรทําให้การลดนํ้าหนักและการรักษาน้ำหนักที่ลดได้ให้คงที่ไว้เป็นเรื่องยาก เราจึงต้องหันไปพึ่งวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าโรคอ้วนไม่ใช่ความบกพร่องของบุคลิกภาพ ที่จริงแล้ว นี้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญซึ่งมีความซับซ้อน เพียงแค่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดํารงชีวิตอย่างเดียวก็สร้างความแตกต่างได้มากมายไม่ต่างจากหลาย ๆ โรค Mads Tang-Christensen กล่าว
เมื่อพูดถึงการจัดการกับนํ้าหนักส่วนเกิน Mads Tang-Christen เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะรองประธานฝ่ายวิจัยภาวะโรคอ้วนของบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ เขาและทีมงานของเขาได้ทําการวิจัยเรื่องโรคอ้วนมาเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้ว และเขาเองก็เป็นผู้ประสบภาวะโรคอ้วนด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไม่เพียงแต่เขาต้องการความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เขายังต้องการให้ผู้คนเข้าใจมากขึ้นว่าภาวะโรคอ้วนซับซ้อนเพียงใด
“แม้ว่าสภาพแวดล้อมของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่ความต้องการอาหารพลังงานสูง โดยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอาหาร ยังเป็นกลไกหลักของร่างกายเราเหมือนเดิม”
การใช้ชีวิตกับภาวะโรคอ้วนอาจส่งผลกระทบต่อชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่ของผู้คนในหลายๆด้าน ผู้คนทั่วโลกต่างมีภาวะนํ้าหนักเกินเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ แต่มีคนเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการรักษาในปัจจุบัน ตามข้อมูลของ Mads Tang-Christensen สาเหตุของโรคอ้วนยังคงมีเรื่องที่ไม่เข้าใจอีกมาก แต่คําแนะนำมักไม่เพียงพอต่อการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง เช่น ‘กินให้น้อยลงและขยับร่างกายให้มากขึ้น’
“ดูเหมือนเป็นการง่ายที่จะอธิบายว่า หากเราบริโภคอาหารมากกว่าที่เราต้องการ นํ้าหนักเราก็ขึ้น แต่จริง ๆ แล้วปัญหาซับซ้อนกว่านั้นมาก ดูเหมือนว่าร่างกายของเราจะถูกกำหนดมาให้รองรับแคลอรี่ได้มากเป็นพิเศษอยู่แล้ว น่าจะเป็นเพราะนี่คือกลไกพื้นฐานเพื่อเอาชีวิตรอดของร่างกายมานานหลายพันปี”
ในยุคหินเมื่อ 50,000 ปีก่อน แหล่งที่มนุษย์หาอาหารไม่แน่ไม่นอน มีทั้งช่วงที่อาหารอุดมสมบูรณ์และช่วงที่ขาดแคลน บรรพบุรุษของเรามีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตมากขึ้นหากร่างกายของพวกเขาเก็บพลังงานไว้ในไขมันได้ดีในช่วงเวลาที่มีอาหารเพียงพอ ด้วยเหตุนี้สมองของเราจึงมีการทำงานให้มองหาอาหารรสอร่อยและอุดมไปด้วยพลังงาน เพื่อให้ร่างกายเก็บไว้ในชั้นไขมันได้อย่างง่าย
วันนี้เราอยู่ท่ามกลางอาหารและเครื่องดื่มแสนอร่อยมากมายที่หารับประทานได้ง่าย นอกจากนี้ เรายังไม่ค่อยใช้ร่างกายเคลื่อนไหวมากเหมือนบรรพบุรุษในยุคหินของเรา แต่ในขณะสภาพแวดล้อมของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่ความต้องการอาหารพลังงานสูง โดยกระตุ้นให้บริโภคอาหาร ยังเป็นกลไกหลักของร่างกายเราเหมือนเดิม
Mads Tang-Christensen กล่าวว่า “เมื่อแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะกักเก็บแคลอรี่เป็นไขมันรวมเข้ากับสภาพแวดล้อมการบริโภคแคลอรี่สูงเกินเป็นเรื่องง่าย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนทั่วโลกที่มีนํ้าหนักเกินไปจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ” นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความยากในการลดน้ำหนัก เนื่องจากความขัดแย้งกันระหว่างร่างกายของเราและสิ่งแวดล้อม เขากล่าว
อีกความท้าทายหนึ่งในการจัดการภาวะโรคอ้วนคือ ร่างกายของเราจะต่อต้านอย่างเต็มที่ไม่ให้สูญเสียน้ำหนัก แม้ว่ากลไกนี่จะมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้บรรพบุรุษของเราดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ทุกวันนี้มันกลับทําให้ลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักให้ไม่ดีดกลับขึ้นอีกในระยะยาวได้ยาก
“ดูเหมือนว่าร่างกายของเราจะถูกกำหนดมาให้รองรับแคลอรี่ได้มากเป็นพิเศษตั้งแต่เกิด อาจเป็นเพราะนี่คือกลไกพื้นฐานเพื่อเอาชีวิตรอดมานานหลายพันปีแล้ว”
Mads Tang-Christensen อธิบายว่าร่างกายจะกระตุ้นกลไกการป้องกันเมื่อรู้สึกว่าน้ำหนักกำลังลดลง ทําให้คนรู้สึกหิวมากขึ้นและรู้สึกไม่ค่อยอิ่มหลังมื้ออาหาร นั่นอาจทําให้พวกเขารับประทานอาหารมากขึ้น และยังสั่งให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยลงอีกด้วย
“นี่คือเหตุผลที่ผู้คนมักจะมีน้ำหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิมหลังจากผ่านไปสองสามสัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ได้บริโภคพลังงานเพิ่มก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว คนเราบางคนสามารถนํ้าหนักตีกลับได้แม้ในขณะที่บริโภคพลังงานน้อยกว่าแต่ก่อน" Mads Tang-Christensen กล่าว
Mads Tang-Christensen กล่าวเสริมว่าการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโรคอ้วนนําไปสู่ความเชื่อที่ผิด และอาจก่อให้เกิดคำพูดที่ทําร้ายความรู้สึกผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนได้
"ถ้าเราจะแก้ไขปัญหาภาวะโรคอ้วน ทุกคนต้องตระหนักก่อนว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษา" เขากล่าว
“นั่นคือเหตุผลที่การพูดว่าโรคอ้วนเกิดจากความขี้เกียจหรือไม่ตั้งใจ นั้นไม่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ความจริงก็คือการควบคุมนํ้าหนักมีปัจจัยที่เกี่ยความเข้าใจงมากมาย บางปัจจัยอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา Mads Tang-Christensn โดยสรุปคือการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของโรคอ้วน จะช่วยลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้"