
”มีการประเมินว่า ประมาณร้อยละ 40-70 ของคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนนั้นมาจากพันธุกรรม”
หลายคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19 เพียงเพราะเป็นช่วงเวลาที่เครียดและมีตู้เย็นเป็นเพื่อนที่ไม่ต้องรักษาระยะห่าง หากผลพวงจากล็อกดาวน์ทำให้คุณหนักเพิ่มขึ้นอีก 2-3 กิโลกรัมเข้าให้แล้ว คุณจะลองหาวิธีควบคุมอาหารแบบอื่น สมัครฟิตเนส หรือลองติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือไม่
โดย Dr. Michael Vallis, สิงหาคม 2020
ทราบหรือไม่ว่า ภาวะโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง ใช่แล้ว… นั่นหมายความว่าเราเข้าใจผิดกันมาเนิ่นนาน
มีคำบรรยายที่บอกต่อกันมายาวนานว่า ใครก็สามารถควบคุมน้ำหนักได้เพียงแค่การรักษาสมดุลระหว่าง "แคลอรีขาเข้า" และ "แคลอรีขาออก" ถ้าเช่นนั้น เมื่อคุณน้ำหนักขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มีแคลอรีมากเกินไป ก็เพียงลดปริมาณลงแล้วคุณก็จะลดน้ำหนักได้
อย่าหลอกตัวเอง ว่าการควบคุมน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องง่าย
ผลคือมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่าน้ำหนักต่างจากพฤติกรรม คุณจึงไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้โดยตรง
ฟังดูแรงไปหน่อยใช่ไหม มาลองดูตัวอย่างกัน หากผมขอให้คุณทานผลไม้ 3 ครั้งในวันนี้ คุณก็สามารถทำได้ (หากมีผลไม้เตรียมไว้ให้)
หากผมขอให้คุณเดิน 30 นาทีเวลาใดก็ได้ในช่วง 8.00-21.00 น. คุณก็น่าจะทำได้เช่นกัน
การมีนํ้าหนักตัวน้อยเกินไปอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือคุณอาจป่วย หากคุณมีนํ้าหนักน้อยเกินไป โปรดติดต่อ แพทย์ของคุณเพื่อการประเมินเพิ่มเติม
แพทย์แนะนําว่าคุณควรรักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในภายใน ช่วงน้ำหนักนี้
* องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดประเภทคําว่า ‘อ้วนระยะเริ่มต้น’ ว่าเป็นภาวะ ‘น้ำหนักเกิน’
ผู้ที่จัดอยู่ในประเภท นี้อาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะโรคอ้วน นอกจากนี้ ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือปัญหาทางสุขภาพ ที่เฝ้าระวังอยู่อาจแย่ลง คําแนะนําคือ ปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ ในการจัดการรักษาภาวะโรคอ้วน
มีคําแนะนําสองข้อ สําหรับผู้ที่จัดอยู่ในประเภทอ้วนระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นคำแนะนําสำหรับแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกของยุโรปและอเมริกา เพื่อจัดการรักษาภาวะโรคอ้วนในผู้ใหญ่
คําแนะนําสําหรับ ผู้ที่มีระดับ BMI อยู่ระหว่าง 25.0 และ 29.9 และผู้ ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพเนื่องจากนํ้าหนักตัว (อาทิ ความดันโลหิต สูง หรือคอเลสเตอรอลสูง) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นอีก ด้วยการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกําลังกายเพิ่มขึ้น
สําหรับผู้ที่มีค่า BMI ระหว่าง 27 ถึง 29 และ ยังมีปัญหาสุขภาพเนื่องจากนํ้าหนักตัว คำแนะนำคือให้ลด นํ้าหนักโดยผสมผสานการจัดการรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่และใช้ยาลดน้ำหนักที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ร่วมด้วย เพื่อลดให้ได้นํ้าหนักตามเป้าหมายและปรับปรุงสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ผู้ที่มีระดับ BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปอาจมีภาวะโรคอ้วน ซึ่งหมายถึงการสะสมของไขมันที่ผิดปกติหรือมากเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ปัจจุบันองค์กรด้านสุขภาพจํานวนมากยอมรับว่าภาวะโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถจัดการได้
องค์การอนามัยโลกและองค์กรด้านสุขภาพอื่น ๆ จําแนกภาวะโรคอ้วนออกเป็น 3 กลุ่ม:
การจําแนกประเภทภาวะโรคอ้วน | BMI |
ประเภท 1 | 30.0–34.9 |
ประเภท 2 | 35.0–39.9 |
ประเภท 3 | มากกว่า 40 |
ช่วงของค่า BMI จะขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ไขมันในร่างกายส่วนเกินมีต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล อายุ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เมื่อค่า BMI เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคบางอย่างก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ขอแนะนําให้ผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปให้ปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการจัดการรักษาภาวะโรคอ้วนเพื่อวินิจฉัย ประเมินความเสี่ยง และรักษาภาวะโรคอ้วน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพเนื่องจากนํ้าหนักตัว
เป้าหมายของการจัดการและการรักษาภาวะโรคอ้วนไม่ใช่เพียงการลดนํ้าหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นการทําให้สุขภาพดีขึ้นและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ ด้วย ลดน้ำหนักช่วงล็อกดาวน์โควิด-19 จะเกิดอะไรขึ้น หากคำตอบไม่ใช่สิ่งที่คุณมองหามาตลอด
มีทางเลือกในการรักษาภาวะโรคอ้วนที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์จํานวนมากที่อาจจะนำมาแนะนําได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล สภาวะสุขภาพ แม้จะมีหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว การรักษาอาจรวมถึงทางเลือกต่อไปนี้ผสมผสานกัน**:
* โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะโรคอ้วนจะแนะนำสําหรับผู้ที่มี BMI เกินกว่า 35 และมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว นอกจากนี้ โดยทั่วไปยังเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป
** ข้อความปฏิเสธความรับผิด: ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคําแนะนําของผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้ หากคุณมีคําถามใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์หรือผู้ที่มีคุณวุฒิท่านอื่น ๆ
ผู้ที่มีระดับ BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปอาจมีภาวะโรคอ้วน ซึ่งหมายถึงการสะสมของไขมันที่ผิดปกติหรือมากเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ปัจจุบันองค์กรด้านสุขภาพจํานวนมากยอมรับว่าภาวะโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถจัดการได้
องค์การอนามัยโลกและองค์กรด้านสุขภาพอื่น ๆ จําแนกภาวะโรคอ้วนออกเป็น 3 กลุ่ม:
การจําแนกประเภทภาวะโรคอ้วน | BMI |
ประเภท 1 | 30.0–34.9 |
ประเภท 2 | 35.0–39.9 |
ประเภท 3 | มากกว่า 40 |
ช่วงของค่า BMI จะขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ไขมันในร่างกายส่วนเกินมีต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล อายุ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เมื่อค่า BMI เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคบางอย่างก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ขอแนะนําให้ผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเข้ารับการปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการจัดการรักษาภาวะโรคอ้วนเพื่อวินิจฉัย ประเมินความเสี่ยง และรักษาภาวะโรคอ้วนรวมถึงภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพเนื่องจากนํ้าหนักตัว
เป้าหมายของการจัดการและการรักษาภาวะโรคอ้วนไม่ใช่เพียงการลดนํ้าหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นการทําให้สุขภาพดีขึ้นและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ ด้วย การลดนํ้าหนักแม้เพียงเล็กน้อย อย่างเช่น นํ้าหนักตัวร้อยละ 5 ขึ้นไป และรักษานํ้าหนักไม่ดีดกลับขึ้นมาอีก อาจช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว
มีทางเลือกในการรักษาภาวะโรคอ้วนที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์จํานวนมากที่อาจจะนำมาแนะนําได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล สภาวะสุขภาพ แม้จะมีหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัวก็ตาม การรักษาอาจรวมถึงทางเลือกต่อไปนี้ผสมผสานกัน**:
* โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะโรคอ้วนจะแนะนำสําหรับผู้ที่มี BMI เกินกว่า 35 และมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว นอกจากนี้ โดยทั่วไปยังเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป
** ข้อความปฏิเสธความรับผิด: ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคําแนะนําของผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้ หากคุณมีคําถามใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์หรือผู้ที่มีคุณวุฒิท่านอื่น ๆ
ผู้ที่มีระดับ BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปอาจมีภาวะโรคอ้วน ซึ่งหมายถึงการสะสมของไขมันที่ผิดปกติหรือมากเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ สุขภาพ ปัจจุบันองค์กรด้านสุขภาพจํานวนมากยอมรับว่าภาวะโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถจัดการได้
องค์การอนามัยโลกและองค์กรด้านสุขภาพอื่น ๆ จําแนกภาวะโรคอ้วนออกเป็น 3 กลุ่ม:
การจําแนกประเภทภาวะโรคอ้วน | BMI |
ประเภท 1 | 30.0–34.9 |
ประเภท 2 | 35.0–39.9 |
ประเภท 3 | มากกว่า 40 |
ช่วงของค่า BMI จะขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ไขมันในร่างกายส่วนเกินมีต่อ สุขภาพของแต่ละบุคคล อายุ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เมื่อ ค่า BMI เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคบางอย่างก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ขอ แนะนําให้ผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปให้ปรึกษา ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการจัดการรักษาภาวะโรคอ้วนเพื่อวินิจฉัย ประเมิน ความเสี่ยง และรักษาภาวะโรคอ้วนรวมถึงภาวะแทรกซ้อน ด้านสุขภาพเนื่องจากนํ้าหนักตัว
เป้าหมายของการจัดการและการรักษาภาวะโรคอ้วนไม่ใช่เพียงการ ลดนํ้าหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นการทําให้สุขภาพดีขึ้นและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ทางสุขภาพอื่น ๆ ด้วย การลดนํ้าหนักแม้เพียงเล็กน้อย อย่างเช่น นํ้าหนักตัวร้อยละ ห้าขึ้นไป และรักษานํ้าหนักไม่ดีดกลับขึ้นมาอีก อาจช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว
มีทางเลือกในการรักษาภาวะโรคอ้วน ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์จํานวนมากที่อาจจะนำมาแนะนําได้ ตามความต้องการของแต่ละบุคคล สภาวะสุขภาพ และการมีหรือไม่มี ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากนํ้าหนักตัว การรักษาอาจรวมถึง ทางเลือกต่อไปนี้รวมกัน**:
* โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะโรคอ้วนจะแนะนำสําหรับ ผู้ที่มี BMI เกินกว่า 35 และมีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากนํ้าหนักตัว นอกจากนี้ โดยทั่วไปยังเป็นตัวเลือกสำหรับ ผู้ที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป
** ข้อจำกัดความรับผิด: ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคําแนะนําของผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้ หากคุณมีคําถามใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์หรือผู้ที่มีคุณวุฒิท่านอื่น ๆ
คุณควบคุมอาหารที่คุณทานและวิธีการออกกำลังกายได้ (ย้ำอีกครั้งคือ ภายใต้ขีดจำกัดที่มี) แต่เนื่องจากน้ำหนักต่างจากพฤติกรรม เราจึงเลือกปรับน้ำหนักเสมือนมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแทบไม่ได้เลย
ไม่เพียงแค่นั้น พันธุกรรมของคุณก็มีความสำคัญมาก
มีการประเมินว่าประมาณร้อยละ 40-70 ของคนที่มี
แนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนนั้นมาจากพันธุกรรม
นอกจากนั้นแล้วยังมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมกับ น้ำหนักของคุณ
นี่ยังไม่นับการที่สังคมของเราได้เปิดช่องให้การบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูงแต่โภชนาการต่ำเข้าถึงง่าย แต่โอกาสในการทำกิจกรรมกลับยาก
หรือจะพูดอีกอย่างว่า ไม่ว่าคุณจะตัดจบอย่างไร หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้สนับสนุนอย่างชัดเจนกรณีที่น้ำหนักไม่ใช่เรื่องของทางเลือกและความมีวินัย แต่เป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ชีวภาพ สังคมและวัฒนธรรม และจิตวิทยาที่ซับซ้อน
”มีการประเมินว่า ประมาณร้อยละ 40-70 ของคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนนั้นมาจากพันธุกรรม”
ไม่ใช่ตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่เป็นผลจากเซลล์ไขมันส่วนเกินที่มีต่อสุขภาพ ความสามารถในการทำงาน และคุณภาพชีวิต เซลล์ไขมันไม่ได้อยู่นิ่ง เซลล์เหล่านี้ไม่ได้อยู่นิ่งโดยไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ เลย
เซลล์ไขมันจะหลั่งฮอร์โมนและเพปไทด์ ซึ่งเมื่ออยู่ใกล้กับหัวใจ ตับ ตับอ่อน ฯลฯ (เนื้อเยื่อไขมันในช่องท้อง) อาจก่อให้เกิดโรคมากมาย
เมื่อศึกษาเพิ่มเติมไปอีกขั้น คุณต้องเข้าใจว่าร่างกายช่วยปกป้องน้ำหนักสูงสุด “ใช่แล้ว ปกป้อง”… ร่างกายของเรามีระบบตอบสนองตามสัญชาตญาณพื้นฐาน ขอยกตัวอย่างสักหน่อย
เนื่องด้วยความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกทำลายของสมอง เราจึงเริ่มขับเหงื่อโดยอัตโนมัติเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายของเรา อีกตัวอย่างหนึ่งคือ อุณหภูมิเยือกแข็งไม่ดีสำหรับร่างกายและอาจก่ออันตราย จึงเป็นสาเหตุที่ร่างกายเริ่มมีอาการสั่นโดยอัตโนมัติเมื่ออากาศเย็น เพื่อดึงอุณหภูมิให้กลับคืนมา เท่านี้ทุกอย่างก็ยังถือว่าดี
ในทำนองเดียวกัน ร่างกายสร้างมาเพื่อต้านทานการลดน้ำหนัก ในอดีตเมื่อตอนที่อาหารไม่ได้หามาได้ง่าย ๆ คนเรามักเสี่ยงต่อความหิวโหย ดังนั้นเมื่อน้ำหนักเราลดลง กลไกในตัวของเราจะถีบกลับไปเป็นอย่างเดิม แทนอาการสั่นหรือเหงื่อออก สมองให้เราหิวมากขึ้น หยุดความรู้สึกอิ่มท้อง และชะลอกระบวนการเผาผลาญให้ช้าลง ดังนั้น กลไกการรักษาชีวิตเหล่านั้นจึงยังคงทำงานอยู่เบื้องหลัง จนถึงปัจจุบัน...
“ในช่วง 3-6 เดือนจะถึงจุดหนึ่งที่ น้ำหนักไม่ลดลงและเริ่มนิ่ง ณ จุดนี้คือการที่ชีววิทยาเข้ามามีบทบาท หากจะเรียกว่าล้มเหลวนั้นก็ง่ายเกินไป”
มีกราฟแสดงการลดน้ำหนักที่คาดเดาได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ทราบดี ในช่วงเริ่มต้นของการลดน้ำหนัก น้ำหนักจะลดลงโดยตัวเลขอาจทำให้รู้สึกดีต่อใจสุด ๆ จากนั้นในช่วง 3-6 เดือน จะถึงจุดหนึ่งที่น้ำหนักไม่ลดลงและเริ่มนิ่ง ณ จุดนี้คือเรื่องของชีววิทยาที่เข้ามามีบทบาท หากจะเรียกว่าล้มเหลวนั้นก็ง่ายเกินไป
แล้วสาเหตุที่ผมบอกเรื่องนี้ คืออย่างนี้ครับ เมื่อคนเราใช้รูปแบบพลังงานเข้า-ออก เป้าหมายและความคาดหวังจะแขวนไว้กับสิ่งนี้
บางคนถูกโน้มน้าวให้คิดเช่นนี้ อาจตั้งเป้าหมายการลดน้ำหนักที่ 0.5 กก. ในแต่ละสัปดาห์ 5 สัปดาห์ลด 2.5 กก. 10 สัปดาห์ลด 5 กก. 30 สัปดาห์ลด 15 กก. เยี่ยมไปเลย! ผมอยากลองด้วย! แต่น่าเสียดายที่โอกาสที่จะลดได้ขนาดนี้จริง ๆ นั้นมีน้อย… น้อยสุด ๆ เพราะร่างกายของคุณจะแปรผลที่ต่างออกไป และคุณไม่สามารถฝืนอำนาจของธรรมชาติได้
ปัญหาใหญ่กับความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ว่า “ทานน้อยลง ขยับตัวมากขึ้น” เมื่อคนเราผ่านการลดน้ำหนักตามขั้นตอนที่คาดการณ์ได้แล้ว แต่ความสำเร็จขั้นแรกตามมาด้วยน้ำหนักที่ไม่ลดลงอย่างที่ใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่าพวกเขามักจะโทษตัวเองทุกครั้งไป
กรณีนี้ทำให้เข้าสู่ลำดับเหตุการณ์ที่เหมือนจะคว้าน้ำเหลว หากมีสิ่งใดที่เรารู้เกี่ยวกับผู้ที่อยู่ในภาวะโรคอ้วน นั่นก็คือพวกเขาพยายามอย่างหนักซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับการลดน้ำหนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับกลายเป็นว่า “ฉันพยายามแต่ก็ล้มเหลว ฉันพยายามแต่ก็ล้มเหลว ฉันพยายามแต่ก็ล้มเหลว” ฟังดูคุ้น ๆ ไหมครับ
“ความพยายามแต่ล้มเหลวเช่นนี้ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง กรณีนี้เรียกว่า ‘การเรียนรู้บนหนทางที่สิ้นหวัง' และเป็นสภาวะทางจิตใจที่อันตรายมาก”
ในฐานะนักจิตวิทยา เมื่อผมเห็นลักษณะเช่นนี้ มันทำให้ผมรู้สึกเศร้าจริง
ๆ ทำไมน่ะรึ? เพราะความพยายามแต่
ล้มเหลวเช่นนี้ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง กรณีนี้เรียกว่า
“การเรียนรู้บนความสิ้นหวัง” และเป็นสภาวะทางจิตใจที่อันตรายมาก
มันจะรู้สึกคล้ายกับโรคซึมเศร้า
ซึ่งเข้ามารบกวนการดำรงชีวิตส่วนใหญ่ของผู้คน
แล้วยังบั่นทอนการเห็นคุณค่าในตัวเองของคน ๆ หนึ่งด้วย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการศึกษาจำนวนหนึ่งที่ดำเนินการขึ้นเพื่อทำความเข้าใจวิธีปรับการดูแลผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนให้ดีขึ้น สิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ก็คือ ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนไม่ได้มองว่าผู้ให้บริการทางการแพทย์นั้นเป็นที่พึ่งได้ แต่คิดว่าการควบคุมน้ำหนักนั้นขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง และเขาเพียงแค่ต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นเท่านั้น ขณะผู้ให้บริการทางการแพทย์คิดว่าพวกเขาสามารถช่วยได้ แต่ก็ยังยึดติดว่าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นวิธีเดียวที่ดีที่สุด
ผมดูแลผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค ‘70 ผมเห็นมาหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า คนที่มีภาวะโรคอ้วนรู้สึกโกรธถึงขีดสุด เมื่อมีคนมาจี้จุดว่า “คุณเพียงต้องทานให้น้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้น”
ราวกับว่าพวกเขาคาดหวังให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนตอบว่า “จริงเหรอ ไม่เคยมีใครพูดแบบนั้นกับฉันมาก่อนเลย ฉันไม่เคยรู้เลยว่า การทานน้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้นจะช่วยได้”
การที่ได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน ทำให้ผมรู้ว่าเราพูดผิดมาตลอด ถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนคำบรรยายถึงความหมายของภาวะโรคอ้วน การเกิดโรคและวิธีการรักษาภาวะโรคอ้วน
เมื่อมีคนขอให้ผมอธิบายว่า ทำไมอัตราการเกิดภาวะโรคอ้วนจึงเพิ่มขึ้น คำตอบของผมคือ “เพราะสมองของมนุษย์ไม่ได้ถูกปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่อีกต่อไปแล้วครับ” ไม่มีอะไรผิดปกติกับคนและสมอง แต่เมื่อรวมกับสภาพแวดล้อมแล้ว ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้
จะเกิดอะไรขึ้น หากคุณเปลี่ยนคำบรรยายที่ว่า ภาวะโรคอ้วนเป็นแค่เรื่องการทานน้อยลงและขยับร่างกายมากขึ้น แล้วผลคือความล้มเหลวล่ะครับ
อีกประการหนึ่งคือ เมื่อรู้สึกถึงความล้มเหลวและสิ้นหวัง พวกเขาจะหยุดดูแลตัวเอง
“ถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนคำบรรยายความหมายของภาวะโรคอ้วน การเกิดโรคและวิธีการรักษา
ภาวะโรคอ้วน”
แล้วควรไปต่ออย่างไรล่ะ ผมขออธิบายแบบนี้ครับ
จะเกิดอะไรขึ้น หากภาวะโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นผลมาจากปัญหาทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม ชีววิทยา (โดยเฉพาะชีววิทยาจากสมอง) สังคมและจิตใจที่ขยายขอบเขตไปถึงบริบทของสภาพแวดล้อมสมัยใหม่ที่มีอาหารแปรรูปจนล้นหลาม การดำเนินชีวิตที่เกินพอดี แต่มีเวลาเพียงน้อยนิดในการดูแลตัวเอง
และแม้ที่ผ่านมาคุณจะเคยพยายามมาตลอด แต่คุณไม่เคยเข้ารับการรักษาภาวะนี้จริงจัง จนถึงบัดนี้ยังไม่มีใครจัดการการดูแลรักษาคุณด้วยศาสตร์ที่เรามีในปัจจุบัน ความพยายามที่ผ่านมานั้นมุ่งประเด็นไปที่แนวคิดแบบการทานน้อยลง ขยับร่างกายมากขึ้น
หากคุณสามารถเปลี่ยนแปลงจุดนี้ได้ ผมอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป
นี่คือทรรศนะของผม ผมคิดว่าจุดเปลี่ยนนี้มีโอกาสที่จะทำให้ความหวังเป็นจริงขึ้นมาในการจัดการกับภาวะโรคอ้วนและเป็นหนทางที่จะทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น
“จุดเปลี่ยนนี้มีโอกาสที่จะทำให้
ความหวังเป็นจริงขึ้นมาในการจัดการกับภาวะโรคอ้วนและเป็นหนทางที่จะทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น”
ผมกังวลว่า ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนนั้นจะตำหนิตัวเอง เพราะจริง ๆ เรารู้ว่าพวกเขาคิดอย่างไร กรณีนี้เรียกว่า “อคติเรื่องน้ำหนักตามค่านิยม” และไม่คิดว่าผู้ให้บริการทางการแพทย์จะพร้อมให้ความช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตาม หากเราจัดการกับภาวะโรคอ้วนคล้ายกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ เราก็สามารถสร้างความแตกต่างได้ ผู้ให้บริการทางการแพทย์สามารถใช้ทักษะที่ได้เรียนรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนได้ ท้ายที่สุดแล้ว การจัดการภาวะโรคอ้วนก็คือวิธีการรักษาที่ช่วยให้มีสุขภาพ การทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสำคัญกว่าขีดน้ำหนักที่บุคคลหนึ่งสามารถลดได้
ผมอยากรู้ว่าคุณยินดีที่จะติดต่อและขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับภาวะที่คุณเป็นอยู่หรือยัง