Go to the page content

ควรลดน้ำหนักเท่าไร ถึงดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเกินและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพนั้น ไม่สามารถนำมาบอกเล่าในบริบทที่กล่าวเกินจริง

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังคงแสดงให้เห็นว่าการมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่สูงขึ้นนั้นสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า สำหรับผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน การลดน้ำหนักอย่างพอประมาณก็ส่งผลให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นอย่างมาก

แนวทางการลดน้ำหนักที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ แต่ยังช่วยคงน้ำหนักที่เหมาะสมไว้จนเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการดําเนินชีวิตเพื่อสุขภาพ

หากน้ำหนักเกินส่งผลต่อสุขภาพ คุณสามารถเริ่มต้นการเดินทางเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าได้ตั้งแต่วันนี้!

การลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

แม้ว่าตัวเลขน้ำหนักที่แนะนำให้ลดจะขึ้นอยู่กับปัญหาด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล แต่ความเห็นทางการแพทย์ที่เป็นเสียงเดียวกัน คือ “เพื่อสุขภาพที่ดี”  เพียงเริ่มต้นจากการลดน้ำหนักประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น แล้วค่อยต่อด้วยการลดน้ำหนักลงอีก การลดน้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10-15 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้นนั้นสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นในอนาคต

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหนักที่คุณจะควรจะลดเพื่อให้เห็นถึงสุขภาพร่างกายที่ดีซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักทั้งที่ดีต่อใจและดีต่อสุขภาพ

หากคุณกังวลเกี่ยวกับภาวะใด ๆ ที่กล่าวถึงในบทความนี้ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อเข้ารับการประเมินทางการแพทย์และขอคำแนะนำเกี่ยวกับตัวเลือกการรักษาภาวะโรคอ้วนที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณ

ประโยชน์ต่อสุขภาพจากการลดน้ำหนักเพียงร้อยละ 5

แม้แต่การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของคุณได้ แม้ร้อยละ 5 อาจมองไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่เมื่อนำตัวเลขนี้มามองเชิงลึก เช่น หากคุณมีน้ำหนัก 100 กก. คุณจะต้องลดเพียง 5 กก. เพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลงร้อยละ 5

ข้อมูลนี้คือประโยชน์ที่คาดหวังได้ เมื่อลดน้ำหนักได้ถึงร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว

ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การลดน้ำหนักได้ถึงร้อยละ 5 ของน้ำหนักทั้งหมดสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2

จากโปรแกรมการเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินชีวิตที่ได้รับการรับรองจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ผู้ที่ลดน้ำหนักได้ประมาณร้อยละ 7 สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากถึงร้อยละ 58

บรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม

จากการวิจัยพบว่า ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน การลดดัชนีมวลกาย (BMI) ลง 2 หน่วย (น้ำหนักที่ลดลงโดยเฉลี่ย 5.1 กก.) ส่งผลให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมลดลงกว่าร้อยละ 50

เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 60 ปีที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักที่ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ส่งผลให้อาการปวดเข่าลดลง เพิ่มความคล่องตัวและการทำงานของข้อเข่าโดยรวมให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ความรู้สึกไม่สบายตัวที่เกี่ยวข้องกับอาการข้อเข่าเสื่อมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง หากน้ำหนักตัวลดลงอีก

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น

การมีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะโรคอ้วนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงมากมาย และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดอื่น ๆ

ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจได้ ลดน้ำหนักที่สุขภาพดีของเราต้องเท่าไร

ข้อมูลแสดงว่าการลดน้ำหนักร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น ส่งผลให้ ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ ความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ที่ยอดเยี่ยมคือการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืนจะส่งผลเช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องเอาใจไปผูกกับหมวดหมู่ BMI ตามเกณฑ์ (ภาวะโรคอ้วนระดับ 1 2 หรือ 3)

ผลลัพธ์ที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วยน้ำหนักที่ลดได้มากขึ้น

การอักเสบเรื้อรังที่มาจากภาวะโรคอ้วน

ภาวะโรคอ้วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและการ​อักเสบเรื้อรังแบบค่อยลุกลาม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อโรคเรื้อรังและภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อในเชิงลบ

จาการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่า การลดน้ำหนักในบุคคลที่มีภาวะโรคอ้วนและมีน้ำหนักเกินสามารถช่วยลดสัญญาณที่ก่อให้เกิดการอักเสบลง ซึ่งเรียกว่า ไซโตไคน์ในเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลดลง

จากการวิจัยพบว่า ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ยาฮอร์โมนบำบัด มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยสุ่มสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน การลดน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ 5 ช่วยลดความเข้มข้นของเอสโตรเจนในซีรั่มและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในมะเร็งเต้านม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการลดน้ำหนักในระดับที่พอเหมาะอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจน

จากการศึกษาแยกสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วน พบว่าผู้ที่ลดน้ำหนักลงได้ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของน้ำหนักตัวนั้น สามารถลดระดับของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เกี่ยวกับการอักเสบ ซึ่งอาจมีความสำคัญทางคลินิกในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

นอนหลับได้นานและดีขึ้น

ภาวะน้ำหนักเกินอาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของคุณ ในการวิจัยของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ พบว่าผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและมีน้ำหนักเกินมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น

  • นอนไม่หลับ
  • ความเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน
  • ง่วงนอน
  • นอนกระสับกระส่าย
  • หรือการใช้ยาระงับประสาทเพื่อช่วยให้นอนหลับ

ผลการศึกษาพบว่า การลดไขมันในร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะไขมันในช่องท้องเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของผู้เข้าร่วม โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยทางประชากร

ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วนที่ลดน้ำหนักได้ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของน้ำหนักตัวเริ่มต้น มีระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับดีขึ้นภายใน 6 เดือน ส่วนผู้ที่มีอาการซึมเศร้าเล็กน้อยหรือมากขึ้นในช่วงแรกเริ่ม ก็มีภาวะอารมณ์โดยรวมที่ดีขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

คุณอยากทราบว่า น้ำหนักตัวของคุณจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหรือไม่


อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ดีขึ้น

ภาวะโรคอ้วนสามารถขัดขวางการเจริญพันธุ์ของเพศหญิงด้วยวิถีทางชีวภาพต่าง ๆ 

การศึกษาหนึ่งได้รายงานว่า หลังจากที่ผู้ป่วย PCOS ที่มีภาวะโรคอ้วนรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำ พบว่ามีรอบเดือน การตกไข่ และภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีขึ้น ในระหว่างการศึกษา ผู้ที่ลดน้ำหนักได้อย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวสามารถตั้งครรภ์ได้เองตามธรรมชาติ นักวิจัยสรุปได้ว่า การลดน้ำหนักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยผู้ป่วย PCOS ที่มีบุตรยากและมีน้ำหนักเกิน

ในการศึกษาแยกร้อยละ 80 ของผู้หญิงที่มีภาวะโรคอ้วนที่มี PCOS และสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าร้อยละ 5 จากการทานอาหารที่มีน้ำตาลลดลง พบว่าการทำงานของระบบสืบพันธุ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก

บรรเทาอาการข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินจะสร้างสารก่อการอักเสบที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อข้อต่อ ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดมากขึ้นจากการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA)

นอกจากนี้ ภาวะโรคอ้วนยังส่งผลเสียต่อโอกาสที่จะช่วยบรรเทาอาการอย่างยั่งยืนถึงร้อยละ 47 จากการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ในการศึกษาย้อนหลัง นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วยโรค RA ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67) มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน การลดน้ำหนักที่เกี่ยวข้องทางคลินิก (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 กก.) มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค RA ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น อาการกดเจ็บตามแนวข้อ ความเจ็บปวด และการทำงานของข้อ

นักวิจัยในการศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า การลดน้ำหนักไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัย มีความสัมพันธ์ ที่เป็นสัญญาณบวกระหว่างน้ำหนักตัวที่ลดลงได้กับความรุนแรงของโรคที่ลดลง ซึ่งส่งผลดีในเรื่องอาการกดเจ็บตามแนวข้อ ความเจ็บปวด และการทำงานของข้อ หากลดน้ำหนักลงได้มากขึ้น

ภาวะที่มีไขมันสะสมในตับร่วมกับมีการอักเสบ (NASH)

มีการบันทึกการลดน้ำหนักเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางจุลกายวิภาคของ NASH ด้วยการลดน้ำหนักตัวร้อยละ 5

ในระหว่าง 52 สัปดาห์ของการศึกษา ผู้ป่วย NASH ที่สามารถลดน้ำหนักได้ มีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หนึ่งในสี่หายขาดจากโรคไขมันคั่งสะสมในตับร้อยละ 47 ลดระดับความรุนแรงของโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ และร้อยละ 19 สังเกตเห็นว่าพังผืดทุเลาลง

สังเกตเห็นประโยชน์ที่มากที่สุดในผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักได้ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปของน้ำหนักตัว ซึ่งรวมถึงอัตราการลดสูงสุดใน NASH การหายขาดจาก NASH และพังผืดทุเลาลง

นอกจากนี้ยังมีการบันทึกว่าการลดน้ำหนักร้อยละ 5 ช่วยลดไขมันในตับ ผู้ที่ลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือเท่ากับ
ร้อยละ 10 มีอัตรา NASH ลดลงมากที่สุดรวมถึงการทุเลาลงของพังผืด และ ร้อยละ 90 บ่งชี้ว่าหายขาดจากโรคได้

การปรึกษากับแพทย์ของคุณเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี

สุขภาพดีขึ้นจากการลดน้ำหนักลงร้อยละ 10

แม้ว่าการลดน้ำหนักร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น อาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก แต่ประโยชน์เหล่านี้ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องพร้อมกับการลดน้ำหนักที่ต่อเนื่องตามมา การศึกษาล่าสุดได้วิเคราะห์ข้อมูลในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะโรคอ้วนในสหราชอาณาจักรมากกว่าครึ่งล้านราย 

บุคคลในกลุ่มลดน้ำหนักสามารถลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 13 สมมติว่าค่าดัชนีมวลกาย 40 กก./ตร.ม. ก่อนการลดน้ำหนัก ผลลัพธ์นี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ร้อยละ 41) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (ร้อยละ 40) โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 22) ภาวะไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 19) และโรคหอบหืด (ร้อยละ 18)

ลดความดันโลหิต

ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมที่ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 10–15 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น มีความดันโลหิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก

ในการศึกษา ผู้เข้าร่วมที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวลดลงโดยเฉลี่ย 9 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมการวิจัยยังได้รับประโยชน์จากสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

จากการวิเคราะห์อภิมานของงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ ระบุว่ากาลดน้ำหนักตัว 1 กก. มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตที่ลดลงประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่า การลดน้ำหนักมีความสำคัญต่อการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ระดับไขมันและคอเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น

การลดน้ำหนักไม่เกินร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัวช่วยลดความหนาแน่นของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ และระดับคอเลสเตอรอลรวม

ในการวิเคราะห์อภิมาน จากงานวิจัยสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบมากกว่า 70 ครั้ง การลดน้ำหนักด้วยวิธีการต่าง ๆ (รูปแบบการดําเนินชีวิต เภสัชวิทยา และการผ่าตัด) สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือดอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ

สุขภาพหัวใจดีขึ้น

แม้ว่าการลดน้ำหนักร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวสามารถช่วยให้หัวใจของคุณดีขึ้น แต่การลดน้ำหนักที่มากขึ้นจะทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้นไปอีก เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดและระดับคอเลสเตอรอลที่ลดลงด้วย

ในการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน น้ำหนักที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับผลดีในระดับของปัจจัยเสี่ยง ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ลดน้ำหนักลงได้ มากกว่าร้อยละ 10 พบว่าน้ำตาลกลูโคส ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอล LDL ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักได้น้อยกว่า

โรคกรดไหลย้อน (GERD)

ค่าความชุกของโรคกรดไหลย้อน ดีขึ้นทั้งในผู้ชายที่ลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวพื้นฐานและในผู้หญิงที่ลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-10

เนื่องจากค่าความชุกของกรดไหลย้อน (ร้อยละ 37) ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน นักวิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่าการลดน้ำหนักของผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่สามารถช่วยให้หายขาดจากอาการนี้ได้โดยสมบูรณ์ 

ปวดข้อจากอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยลง

ในการศึกษาผู้ป่วยภาวะโรคอ้วนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (OA) โดยที่สามารถลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 13.5 ของน้ำหนักตัวพื้นฐาน ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งได้แก่

  • ลดแรงกดที่ข้อเข่าร้อยละ 7
  • ลดแรงกระตุ้นตามแนวแกนร้อยละ 13
  • ลดแรงบิดเข่าเข้าด้านในร้อยละ 12

ผู้ป่วยระบุว่าตนสามารถเคลื่อนไหวดีขึ้นโดยรวมและเจ็บปวดน้อยลงซึ่งบันทึกไว้ระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย นักวิจัยจึงแนะนำว่าการลดน้ำหนักมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม (OA) และภาวะโรคอ้วน

ในงานวิจัยสุ่มเกี่ยวกับผลของการทานอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วต่อผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม นักวิจัยพบว่า การลดน้ำหนักร้อยละ 10 ช่วยให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นร้อยละ 28

ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การพัฒนาของมะเร็งบางชนิดมีความสัมพันธ์กับระดับไขมันส่วนเกิน เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านมในวัยหมดประจำเดือน

การศึกษาที่ติดตามผลในสตรีวัยหมดประจำเดือนพบว่า การลดน้ำหนักตัวเริ่มแรกมากกว่า 9 กก. ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิด รวมถึงมะเร็งเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูก และลำไส้ใหญ่ อัตราการเกิดมะเร็งลดลงโดยรวมร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมที่ลดน้ำหนักได้ไม่ถึง 9 กก.

เพิ่มความพึงพอใจทางเพศ

นักวิจัยได้เชื่อมโยงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สูงขึ้นกับความบกพร่องในคุณภาพชีวิตทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสตรีและผู้เข้ารับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนที่ลดน้ำหนักลงได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 13 พบว่าคุณภาพชีวิตทางเพศของพวกเขาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลายคนระบุว่าตนรู้สึกมีเสน่ห์มากขึ้นและมีแรงขับทางเพศที่มากขึ้น พัฒนาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากที่ผู้เข้าร่วมลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 11.8 ของน้ำหนักตัว

การศึกษาได้ดำเนินการเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้เข้าร่วมที่เข้ารับการลดน้ำหนักโดยเฉลี่ยจะลดน้ำหนักตัวลงไปได้ร้อยละ 9.9 ในระหว่างการศึกษา พบว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยมีสมรรถภาพทางเพศในระดับปกติจนถึงดีขึ้น

การศึกษาในผู้หญิงที่มีภาวะโรคอ้วนและเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 รายงานว่า รูปแบบการดําเนินชีวิตที่ใช้ความพยายามในการลดน้ำหนักประมาณ 7.6 กก. ช่วยให้ตนมีสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น

อาการจากภาวะวัยหมดประจำเดือนน้อยลง

นักวิจัยได้ศึกษาสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เข้าร่วมโปรแกรมดูแลโภชนาการ ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดไขมันในอาหารและเพิ่มการบริโภคผลไม้ ผัก และใยอาหาร

ผู้หญิงที่ลดน้ำหนักได้อย่างน้อยร้อยละ 10 มีแนวโน้มที่จะลดหรือขจัดอาการจากภาวะวัยหมดประจำเดือนได้มากขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นเวลาหนึ่งปี

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า การลดน้ำหนักและรูปแบบการดําเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเป็นทางเลือกที่ดีในฮอร์โมนบำบัด เพื่อบรรเทาอาการจากภาวะวัยหมดประจำเดือน

ลดความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

แพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนักเพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) OSA เป็นภาวะร้ายแรงที่อาจทำให้หยุดหายใจเป็นครั้งคราวระหว่างการนอนหลับ

นักวิจัยได้ติดตามผลกับผู้ป่วย OSA และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า OSA มีความรุนแรงลดลงหลังการลดน้ำหนัก ผู้เข้าร่วมที่ลดน้ำหนักได้ 10 กก. ขึ้นไป (ประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเฉลี่ยของผู้เข้าร่วม) มีอาการ OSA ลดลงมากที่สุด พวกเขาสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวทำให้เกิดผลดีในแง่ของความรุนแรงของ OSA

อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า การลดน้ำหนักร้อยละ 10 นั้นมีประสิทธิภาพ ในแง่ของการจัดการภาวะหายใจผิดปกติจากการนอนหลับของผู้เข้าร่วม ซึ่งช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น

ลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

การลดน้ำหนักอาจช่วยลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ 

ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วนที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนัก 6 เดือน ซึ่งรวมถึงการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย

หลังจากการลดน้ำหนักโดยเฉลี่ย ร้อยละ 8 ความถี่ของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ลดลงร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับ
ร้อยละ 28 ในกลุ่มควบคุม

โดยรวมแล้ว ผู้หญิงในกลุ่มลดน้ำหนักได้ผลลัพธ์ที่สำคัญทางคลินิกมากกว่า ในบางเคส จำนวนโดยรวมของการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด และปัสสาวะราดลดลงร้อยละ 70

นักวิจัยได้สรุปว่า ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่ลดลงนั้นอาจเป็นผลดีจากการลดน้ำหนักในระดับปานกลาง

ความจำดีขึ้น

การมีน้ำหนักเกินสัมพันธ์กับผลเสียในการทำงานขั้นสูงของสมอง 

ในทำนองเดียวกัน ภาวะโรคอ้วนในช่วงวัยกลางคนสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

เมื่อสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักเกินได้รับการควบคุมอาหารเป็นเวลา 6 เดือน โดยสามารถลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 9.2 ของน้ำหนักตัว นักวิจัยได้สังเกตเห็นผลลัพธ์ที่ดีอย่างมีนัยสำคัญในความจำอาศัยเหตุการณ์

สุขภาพที่ดีขึ้นจากการลดน้ำหนักได้ถึงร้อยละ 15

สำหรับผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดําเนินชีวิตครั้งใหญ่และทำได้ทุกวัน ประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพก็จะมีมากและสม่ำเสมอเช่นกัน

การลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องต้องยึดมั่นในกิจวัตรและรูปแบบพฤติกรรมใหม่

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์เพิ่มเติมจากการลดน้ำหนักที่มากขึ้นนั้นคุ้มค่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกังวลเฉพาะของคุณ ลองปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อรับการประเมินทางการแพทย์และข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกการรักษาเพื่อลดน้ำหนัก

การลดน้ำหนักมากถึงร้อยละ 15 สามารถช่วยในด้านต่าง ๆ ดังนี้

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

การลดน้ำหนักร้อยละ 5-10 สามารถรักษาระดับเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบลง แต่การลดน้ำหนักได้อีกก็ยิ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก

งานวิจัยได้ตรวจสอบผลของการลดน้ำหนักต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กก./ตร.ม. และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีภาวะก่อนเบาหวาน ผู้เข้าร่วมลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 13.5 ของน้ำหนักตัว แสดงให้เห็นถึงภูมิคุ้มกันที่ช่วยต้านการอักเสบมีความสมดุลที่ดีขึ้น

การสังเกตของผู้หญิงในวัยหลังหมดประจำเดือนที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วน ซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว พบว่าระดับวิตามินดีเพิ่มขึ้นสามเท่าในระหว่างการศึกษา

การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารเฉพาะบุคคล วิตามินดี (โมเลกุลที่ละลายได้ในไขมัน) ช่วยลดการอักเสบและส่งผลต่อการเติบโตของเซลล์และการทำงานของภูมิคุ้มกัน

ลดอัตราการตาย

ในการศึกษาของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก นักวิจัยได้ติดตามสังเกตผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วนในช่วงระยะเวลาเฉลี่ย 10.9 ปี

ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้ลดน้ำหนักลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 18.3 ของน้ำหนักตัวจากการผ่าตัดรักษา ซึ่งช่วยลดอัตราการตายได้ร้อยละ 24 ตลอดระยะเวลาการศึกษา

ลดอาการอยากของหวาน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมักจะอยากทานอาหารที่มีแคลอรีสูงตามใจปากมากขึ้นในระหว่างวัน

ซึ่งส่งผลให้มีการบริโภคอาหารมากขึ้น เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซา และขนมหวาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่ได้รับประทานอาหาร

การศึกษาแยกในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะโรคอ้วนพิสูจน์ให้เห็นผลลัพธ์ที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม และลดน้ำหนักตัวลงได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 14.6 หลังจากช่วงการบำบัด สังเกตว่าผู้หญิงมีความอยากอาหารที่มีน้ำตาลน้อยลง ซึ่งช่วยให้มีการตอบสนองความอร่อยในระดับปกติ

ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง

แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังบางชนิดจะดีขึ้นจากการลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่จะได้รับ

ปัจจัยด้านสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตและความเข้มข้นของไขมันในเลือดมีความสัมพันธ์กันไปทางบวกกับการลดน้ำหนัก

การลดน้ำหนักมากขึ้นสามารถปรับปรุงตัวบ่งชี้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง ลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน

โอกาสในการบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ ได้ดีที่สุด เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นและโรคไขมันคั่งสะสมในตับ คือการลดน้ำหนักตัวร้อยละ 10-15

การลดน้ำหนักที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษา

หากคุณยังคงมีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน การเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ อาจเป็นหนทางที่ดีที่สุด การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยสามารถให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณได้ทันที

สำหรับผู้ที่เจ็บป่วยจากโรคประจำตัวที่มาเพียบ สามารถเห็นประโยชน์ได้ด้วยการลดน้ำหนักร้อยละ 5 แม้แต่การลดน้ำหนักร้อยละ 2-3 ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก็คาดการณ์ว่าระดับคอเลสเตอรอลจะดีขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้

สุขภาพที่ดีขึ้นจะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเมื่อคุณลดน้ำหนักได้มากขึ้น ในส่วนนี้ เราได้อธิบายถึงประโยชน์ในการรักษาที่คุณอาจเห็นได้จากการลดน้ำหนักแต่ละระดับ

ประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจากการลดน้ำหนักร้อยละ 5

  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • บรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม  
  • ผลดีในแง่ของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • การอักเสบเรื้อรังที่มาจากภาวะโรคอ้วน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต่อโรคมะเร็ง
  • นอนหลับได้นานขึ้นและดีขึ้น
  • อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ดีขึ้น
  • บรรเทาอาการข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ภาวะที่มีไขมันสะสมในตับร่วมกับมีการอักเสบ (NASH)

ประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจากการลดน้ำหนักร้อยละ 10

  • ความดันโลหิตลดลง
  • ระดับไขมันและคอเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น
  • สุขภาพหัวใจดีขึ้น
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • ปวดข้อจากอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยลง
  • ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
  • เพิ่มความพึงพอใจทางเพศ
  • อาการจากภาวะวัยหมดประจำเดือนน้อยลง
  • ลดความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ความจำดีขึ้น
  • ภาวะที่มีไขมันสะสมในตับร่วมกับมีการอักเสบ (NASH)

ประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจากการลดน้ำหนักถึงร้อยละ 15

  • ภูมิคุ้มกันดีขึ้น
  • ลดอัตราการตาย
  • ลดอาการอยากของหวาน
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง

ข้อคิดทิ้งท้าย

ไม่มีสูตรลัดสำหรับการลดน้ำหนัก ในขณะที่คุณกำลังเดินหน้าลดน้ำหนัก ควรมีความอดทนและวิธีคิดในระยะยาว  ตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนักไม่ได้เป็นตัวกำหนดสุขภาพเพียงอย่างเดียว

ประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากมายเกิดขึ้นทีละน้อยในช่วงเวลาหลายปี “สุขภาพเท่ากับรูปแบบการดําเนินชีวิตระยะยาว ไม่เหมือนกับการแข่งวิ่งไปให้ถึงเส้นชัย”

คุณอาจได้รับประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริงและไม่อาจวัดค่าได้ ซึ่งสัมพันธ์กับการบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพอย่างค่อยเป็นค่อยไป

แม้ว่าจะไม่ง่ายที่จะมุ่งหน้าในเส้นทางสู่รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดีมากขึ้น แต่จำไว้ว่าการเดินทางนับพันไมล์นี้เริ่มต้นจากก้าวแรกเพียงก้าวเดียว การลองเปลี่ยนแปลงแม้กับสิ่งเล็ก ๆ ในตอนนี้ อาจส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่ออนาคตของคุณ

หากประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจากการลดน้ำหนักนั้นดีต่อใจและดีต่อกาย ให้พิจารณาว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการลดน้ำหนักของคุณแล้ว

การเดินทางของคุณเริ่มต้นจากการพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดการรักษาภาวะโรคอ้วน ดูวิธีเริ่มการสนทนา

   

ข้อมูลอ้างอิง
  • Valentino, G et al, “Body fat and its relationship with clustering of cardiovascular risk factors” Nutr Hosp. 2015;31(5):2253-2260 ISSN 0212-1611 • CODEN NUHOEQ S.V.R. 318
  • Magkos F et al, “Effects of Moderate and Subsequent Progressive Weight Loss on Metabolic Function and Adipose Tissue Biology in Humans with Obesity” February 22, 2016. DOI: 10.1016/j.cmet.2016.02.005
  • “Losing Weight” Centers for Disease Prevention and Control, (Online) Available: https://www.cdc.gov/healthyweight/losing_weight/
  • “National Diabetes Prevention Program: Why Participate?” Centers for Disease Control and Prevention. Reviewed October 29, 2018. Available: https://www.cdc.gov/diabetes/prevention/why-participate.html
  • Felson DT et al, “Weight loss reduces the risk for symptomatic knee osteoarthritis in women.” The Framingham Study. April 1, 1992. Ann Intern Med 1992;116:535–9. doi.org/10.7326/0003-4819-116-7-535
  • Messier SP et al, “Exercise and dietary weight loss in overweight and obese older adults with knee osteoarthritis: the Arthritis, Diet, and Activity Promotion Trial.” May 2004. doi: 10.1002/art.20256.
  • Christensen R et al, “Effect of weight reduction in obese patients diagnosed with knee osteoarthritis: a systematic review and meta-analysis” April, 2007. Ann Rheum Dis 2007;66:433–9.
  • “Obesity” British Heart Foundation, (Online) Available: https://www.bhf.org.uk/informationsupport/risk-factors/your-weight-and-heart-disease
  • Brown, Joshua D et al ”Effects on cardiovascular risk factors of weight losses limited to 5-10%” Translational behavioral medicine vol. 6,3 (2016): 339-46. doi:10.1007/s13142-015-0353-9
  • Ryan, DH et al, “Weight Loss and Improvement in Comorbidity: Differences at 5%, 10%, 15%, and Over” Current obesity reports vol. 6,2 (2017): 187-194. doi:10.1007/s13679-017-0262-y
  • Andersen, C J et al, “Impact of Obesity and Metabolic Syndrome on Immunity” Adv Nutr. 2016 Jan; 7(1): 66–75. Published online 2016 Jan 7. doi: 10.3945/an.115.010207
  • Bianchi, V E, “Weight loss is a critical factor to reduce inflammation.” Clinical nutrition ESPEN vol. 28 (2018): 21-35. doi:10.1016/j.clnesp.2018.08.007
  • Tamimi, RM et al, “Combined E and T Use and Risk of Breast Cancer in Postmenopausal Women.” July 24, 2006. Arch Intern Med. 2006;166(14):1483-1489. doi:10.1001/archinte.166.14.1483
  • Campbell, K L et al, “Reduced-calorie dietary weight loss, exercise, and sex hormones in postmenopausal women: randomized controlled trial.” Journal of clinical oncology: official journal of the American Society of Clinical Oncology vol. 30,19 (July 1, 2012): 2314-26. doi:10.1200/JCO.2011.37.9792
  • Imayama, I et al, “Effects of a caloric restriction weight loss diet and exercise on inflammatory biomarkers in overweight/obese postmenopausal women: a randomized controlled trial.” Cancer research vol. 72,9 (2012): 2314-26. doi:10.1158/0008-5472.CAN-11-3092
  • “Losing Weight, Especially in the Belly, Improves Sleep Quality, According to a Johns Hopkins Study” John Hopkins Medicine (Online) Available: https://www.hopkinsmedicine.org/news/media/releases/
    losing_weight_especially_in_the_belly_improves_sleep_quality_according_to_a_johns_hopkins_study
  • Alfaris, N et al, “Effects of a two-year behavioral weight loss intervention on sleep and mood in obese individuals treated in primary care practice.” Obesity (Silver Spring, Md.) vol. 23,3 (2015): 558-64. doi:10.1002/oby.20996
  • Silvestris, E et al, “Obesity as disruptor of the female fertility.” Reprod Biol Endocrinol 16, 22 (2018). https://doi.org/10.1186/s12958-018-0336-
  • Crosignani, P G et al, “Overweight and obese anovulatory patients with polycystic ovaries: parallel improvements in anthropometric indices, ovarian physiology and fertility rate induced by diet.” September 18, 2003. PMID: 12923151 DOI: 10.1093/humrep/deg367
  • Lim, S S et al, “Obesity Management in Women with Polycystic Ovary Syndrome” First Published January 1, 2007 https://doi.org/10.2217/17455057.3.1.73
  • Sudoł-Szopińska, I et al, “Role of inflammatory factors and adipose tissue in pathogenesis of rheumatoid arthritis and osteoarthritis. Part I: Rheumatoid adipose tissue.” June 30th 2013. doi: 10.15557/JoU.2013.0019
  • Schulman, E et al, “Overweight, Obesity, and the Likelihood of Achieving Sustained Remission in Early Rheumatoid Arthritis: Results From a Multicenter Prospective Cohort Study.” July 13, 2018. PMID: 29193840 DOI: 10.1002/acr.23457
  • Kreps, D J et al, ”Association of weight loss with improved disease activity in patients with rheumatoid arthritis: A retrospective analysis using electronic medical record data.” International journal of clinical rheumatology vol. 13,1 (2018): 1-10. doi:10.4172/1758-4272.1000154
  • Vilar-Gomez, E et al, “Weight Loss Through Lifestyle Modification Significantly Reduces Features of Nonalcoholic Steatohepatitis.” Gastroenterology 2015;149:367–78.
  • Haase, C L et al, “Weight loss and risk reduction of obesity-related outcomes in 0.5 million people: evidence from a UK primary care database.” Int J Obes (2021). https://doi.org/10.1038/s41366-021-00788-4
  • Wing RR et al, “Benefits of modest weight loss in improving cardiovascular risk factors in overweight and obese individuals with type 2 diabetes.” Diabetes Care 2011;34:1481–6.
  • Neter, JE et al. “Influence of Weight Reduction on Blood Pressure - A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials.” September 15, 2003. Hypertension. 2003;42:878–884 https://doi.org/10.1161/01.HYP.0000094221.86888.AE
  • Hasan, B et al. “Weight Loss and Serum Lipids in Overweight and Obese Adults: A Systematic Review and Meta-Analysis.” December 1, 2020. PMID: 32954416 DOI:10.1210/clinem/dgaa673
  • Singh M et al. “Weight loss can lead to resolution of gastroesophageal reflux disease symptoms: a prospective intervention trial.” Obesity (Silver Spring) 2013;21:284–90.
  • Aaboe, J et al. “Effects of an intensive weight loss program on knee joint loading in obese adults with knee osteoarthritis.” Osteoarthritis Cartilage 2011;19:822–8.
  • Christensen, R et al. “Weight loss: the treatment of choice for knee osteoarthritis? A randomized trial.” January 13, 2005. doi: 10.1016/j.joca.2004.10.008.
  • Fruh, S M et al. ”Obesity: Risk factors, complications, and strategies for sustainable long‐term weight management.” Published online 2017 Oct 12. doi: 10.1002/2327-6924.12510
  • Parker, ED et al, “Intentional weight loss and incidence of obesity‐related cancers: The Iowa Women's Health Study.” International Journal of Obesity and Related Metabolic Disorders: Journal of the International Association for the Study of Obesity, 27(12), 1447–1452.
  • Kolotkin, RL et al. “Obesity and sexual quality of life” Obesity (Silver Spring) 2006 Mar;14(3):472-9. doi: 10.1038/oby.2006.62.
  • Duke Health News. Weight Loss Significantly Improves Sexual Quality of Life. News & Media. Published October 17, 2005. Updated January 20, 2016. Available: https://corporate.dukehealth.org/news/weight-loss-significantly-improves-sexual-quality-life
  • Wing, RR et al. “Effects of Weight Loss Intervention on Erectile Function in Older Men with Type 2 Diabetes in the Look AHEAD Trial.” Published online 2009 Aug 17. doi: 10.1111/j.1743-6109.2009.01458.x
  • Wing, RR et al. “Effect of Intensive Lifestyle Intervention on Sexual Dysfunction in Women With Type 2 Diabetes.” Published online 2013 Sep 14. doi: 10.2337/dc13-0315
  • Kroenke, C H et al. “Effects of a dietary intervention and weight change on vasomotor symptoms in the Women's Health Initiative.” Menopause (New York, N.Y.) vol. 19,9 (2012): 980-8. doi:10.1097/gme.0b013e31824f606e
  • Foster, G D et al, “A Randomized Study on the Effect of Weight Loss on Obstructive Sleep Apnea Among Obese Patients With Type 2 Diabetes - The Sleep AHEAD Study” Arch Intern Med. 2009 Sep 28; 169(17): 1619–1626. doi: 10.1001/archinternmed.2009.266
  • Peppard, P E et al. “Longitudinal study of moderate weight change and sleep-disordered breathing.” JAMA vol. 284,23 (2000): 3015-21. doi:10.1001/jama.284.23.3015
  • Subak LL et al. “Weight loss to treat urinary incontinence in overweight and obese women.” N Engl J Med 2009;360:481–90.
  • Boraxbekk, CJ et al. “Diet-Induced Weight Loss Alters Functional Brain Responses during an Episodic Memory Task.” Published online 2015 July 1. doi: 10.1159/000437157
  • Kivipelto M et al. ”Obesity and Vascular Risk Factors at Midlife and the Risk of Dementia and Alzheimer Disease.” Arch Neurol. 2005;62(10):1556–1560. doi:10.1001/archneur.62.10.1556
  • Viardot, A et al. “The effects of weight loss and gastric banding on the innate and adaptive immune system in type 2 diabetes and prediabetes.” The Journal of clinical endocrinology and metabolism vol. 95,6 (2010): 2845-50. doi:10.1210/jc.2009-2371
  • Mason, C et al. “Effects of weight loss on serum vitamin D in postmenopausal women.” The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 94, Issue 1, July 2011, Pages 95–103, https://doi.org/10.3945/ajcn.111.015552
  • “Vitamin D – Fact Sheet for Health Professionals” U.S. Department of Health and Human Services” (Online) Available: https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminD-HealthProfessional//
  • Sjöström, L et al. “Effects of bariatric surgery on mortality in Swedish obese subjects.” New England Journal of Medicine. 2007 Aug 23;357(8):741-52. doi: 10.1056/NEJMoa066254.
  • Roefs, A et al. “Food craving in daily life: comparison of overweight and normal-weight participants with ecological momentary assessment.” Journal of Human Nutrition and Dietetics 2019 Dec;32(6):765-774. doi: 10.1111/jhn.12693.
  • Nishihara, T et al. “Effects of Weight Loss on Sweet Taste Preference and Palatability following Cognitive Behavioral Therapy for Women with Obesity.” Obesity facts vol. 12,5 (2019): 529-542. doi:10.1159/000502236
  • Ditschuneit, H et al, “Lipoprotein responses to weight loss and weight maintenance in high-risk obese subjects.” Eur J Clin Nutr 56, 264–270 (2002). https://doi.org/10.1038/sj.ejcn.1601375

บทความที่เกี่ยวข้อง

“โรคอ้วน ชวนคุยกันได้”… กับ 13 คำถามที่ควรถามแพทย์
การรักษา   Obesity Care   Medical Support | 5 นาที อ่าน

“โรคอ้วน ชวนคุยกันได้”… กับ 13 คำถามที่ควรถามแพทย์

คำถามทั้ง 13 ข้อนี้จะเป็นตัวช่วยเริ่มต้นบทสนทนา และเป็นก้าวแรกที่จะทำความเข้าใจว่าการควบคุมน้ำหนักมี ตัวเลือกการรักษาใดบ้าง

แฮ็กตัวการความหิว: วางแผนการเตรียมมื้ออาหารและทานอาหารเพื่อสุขภาพ
เคล็ดลับ   ไลฟ์สไตล์   Expert Advice | 6 นาที อ่าน

แฮ็กตัวการความหิว: วางแผนการเตรียมมื้ออาหารและทานอาหารเพื่อสุขภาพ

เราจึงรวบรวมเคล็ดลับการใช้ชีวิต ตั้งแต่การวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพไปจนถึงการยืนหยัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณจะพบว่าเป็นประโยชน์สำหรับคุณ

ควรลดน้ำหนักเท่าไร ถึงดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ
เคล็ดลับ   Obesity Care   Medical Support

ควรลดน้ำหนักเท่าไร ถึงดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหนักที่คุณควรจะลดเพื่อให้เห็นถึงสุขภาพร่างกายที่ดีซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักทั้งที่ดีต่อใจและดีต่อสุขภาพ