Go to the page content
เกี่ยวกับโรคอ้วน

ปัญหาโลกแตก?: โรคอ้วนเป็นโรคหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญรับรู้ว่าโรคอ้วนเป็นโรค ไม่ใช่การใช้ชีวิต มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจสำหรับหลาย ๆ คน เนื่องจากการตีตรา ความอับอาย และข้อมูลที่ผิด ๆ เกี่ยวกับโรคอ้วน แล้วทําไมโรคอ้วนถึงถือว่าเป็นโรค ไม่ใช่เพียงแค่การขาดความตั้งใจ

6 นาที อ่าน

หนึ่งในสาเหตุที่โรคอ้วนถูกจัดว่าเป็นโรคนั้นมีมากกว่าที่ตาเห็น อีกมาก

คนที่เห็นด้วยก็จะบอกว่า:

  • โรคอ้วนเป็นโรค เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และแต่ละคนก็ไม่สามารถควบคุมปัจจัยบางประการได้
  • โรคอ้วนถือเป็นโรคเนื่องจากมีสัญญาณ อาการ ภาวะแทรกซ้อน และสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อยในโรคเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่คงอยู่ยาวนานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

 ในฐานะที่เป็นโรคเรื้อรัง โรคอ้วนไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไป ผู้ที่เป็นโรคอ้วนควรไปพบแพทย์และสอบถามแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษา  ในอีกด้านหนึ่ง คนที่ไม่เห็นด้วยก็จะเข้าใจโรคอ้วนแบบผิด ๆ คนกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า:

  • โรคอ้วนเป็นผลจากรูปแบบการใช้ชีวิต อันมาจากปริมาณการกินและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

การพูดว่าโรคอ้วนนั้นเป็นโรค จะทำให้คนใช้เป็นข้ออ้างและไม่รับผิดชอบต่อการใช้ชีวิตของตนเอง ข้อมูลที่ผิดพลาดและการตีตราประเภทนี้ส่งผลต่อทัศนคติของสังคมเกี่ยวกับโรคอ้วนและส่งผลต่อวิธีการรักษาโรคอ้วนด้วย

ทําไมโรคอ้วนจึงเป็นโรคเรื้อรัง

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน (Royal College of Physicians, RCP) ได้ประกาศรับรองให้โรคอ้วนเป็น “โรค” โรคเรื้อรังแต่สามารถจัดการได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ได้รับผลกระทบจากยีนของเราเท่านั้น แต่ยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมสมัยใหม่ที่เราอาศัยอยู่อีกด้วย ดร. Andrew Goddard กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ทางเลือกของรูปแบบการดําเนินชีวิตที่เกิดจากความโลภของบุคคล แต่เป็นโรคที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ อิทธิพลทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสังคม” แม้จะได้รับการยอมรับดังกล่าว แต่การถกเถียงเกี่ยวกับเหตุใดโรคอ้วนจึงถือเป็นโรคยังคงดำเนินต่อไป และสื่อในสหราชอาณาจักร ก็ตอบโต้อย่างรุนแรง

วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าทำไมโรคอ้วนจึงเป็นโรค

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกได้สรุปตรงกันว่า “โรคอ้วนคือโรค” ซึ่งมักจะจุดประกายการถกเถียงในสื่ออย่างกว้างขวาง คนจำนวนมากยังคงเข้าใจโรคอ้วนแบบผิด ๆ และมองว่าโรคอ้วนเกิดจากวิถีการใช้ชีวิต จากปริมาณอาหารที่รับประทาน และการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนมีเหตุผลต่าง ๆ มากมายที่ทำให้น้ำหนักของพวกเขาเกินเกณฑ์ ในทางวิทยาศาสตร์ โรคอ้วนไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจที่ไม่ดี

ในความเป็นจริง โรคอ้วนเป็นโรคที่:

  • ทําให้ผู้คนมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปสู่ ภาวะที่แย่ลงของสุขภาพ และโรคที่ร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น คอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มะเร็งบางชนิด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
  • เปลี่ยนวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อการรักษา วิธีการรักษาที่เคยได้ผลมาก่อนอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป
  • ยิ่งทำให้ยากขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในชีวิตประจําวันของเรา
  • ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนเหล่านั้นไปตลอดชีวิต

แม้ว่าโรคอ้วนเป็นโรคที่มีผลกระทบทางสุขภาพอย่างร้ายแรง แต่ผู้ที่อาศัยอยู่กับโรคอ้วนแทบจะไม่ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์และเชื่อว่าพวกเขาควรจัดการกับเรื่องนี้ด้วยตนเอง 

โชคดีที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพตระหนักถึงความซับซ้อนของโรคอ้วนมากขึ้นเรื่อย ๆ และกําลังเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือ เครื่องมือตัวเลือกการรักษาของพวกเขากําลังเพิ่มขึ้นและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน โรคอ้วนเป็นโรคที่มีทางเลือกในการรักษา ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมบําบัด โภชนาการเฉพาะบุคคล ยาลดน้ำหนัก และการผ่าตัดลดความอ้วน การจัดการโรคอ้วนสมัยใหม่ดูจะไปไกลมากกว่าแค่สิ่งที่คุณรับประทานและการเคลื่อนไหวของคุณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทําความเข้าใจรูปแบบการรับประทานอาหารของแต่ละบุคคล (วิธีการ เวลา และเหตุผลที่คุณรับประทานอาหาร) ตลอดจนรูปแบบของอารมณ์ การนอนหลับ ความเครียด และกิจกรรมทางกาย แผนการรักษาเฉพาะบุคคลอาจต้องใช้ตัวเลือกการรักษาร่วมที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ

Infographic displaying the amount of people and health care professionals that recognise obesity as a disease.

                                                

โรคอ้วนเป็นโรคที่จะทำให้เรามีความหวังเพื่อทำให้สุขภาพของเรานั้นดีขึ้น

น้ำหนักส่วนเกินไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทําให้โรคอ้วนเป็นโรค ความอับอาย ความละอายใจ และการนับถือตนเองต่ำคือผลที่เรามองไม่เห็น และเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับโรคอ้วนทุกวัน 

ในขณะที่ข้อมูลเท็จและการตีตราส่งผลกระทบต่อความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับโรคอ้วนมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์เริ่มตระหนักว่าโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์และอาจต้องได้รับการรักษาด้วย

ข่าวดีก็คือ โรคอ้วนเป็นโรคที่สามารถจัดการได้ และแม้แต่การปรับเปลี่ยนเล็กน้อยก็สามารถช่วยทำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของคุณดีขึ้นได้  การลดน้ำหนักเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ก็เพียงพอที่จะลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักจํานวนมาก รวมถึงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และอื่น ๆ

ปัจจุบัน มีตัวเลือกการรักษาหลายแบบสําหรับการจัดการภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เพื่อลดน้ำหนักอย่างถาวรอย่างมีสุขภาพดี สิ่งสําคัญคือต้องรับทราบว่าโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำหนักเกี่ยวกับวิธีการที่ถูกต้องในการรักษา 

 

แหล่งอ้างอิง
  • Royal College of Physicians. Obesity should be recognized as a disease. Council Paper 2018.
  • Royal College of Physicians. RCP calls for obesity to be recognized as a disease. RCP London News 2019. https://www.rcplondon.ac.uk/news/rcp-calls-
    obesity-be-recognised-disease [Accessed June 2019]
  • European Medicines Agency. Draft Guideline on clinical evaluation of medicinal products used in weight control 2014.
  • Food and Drug Administration. Guidance for Industry Developing Products for Weight Management 2007.
  • Heuer CA, McClure KJ & Puhl RM. Obesity Stigma in Online News: A Visual Content Analysis. Journal of Health Communication 2001; 16:976–987.
  • Guh et al. The incidence of co-morbidities related to obesity and overweight: A systematic review and meta-analysis. BMC Public Health 2009; 9:88.
  • Luppino et al. Depression and obesity: A meta-analysis of community-based studies. Arch Gen Psychiatry 2010; 67:220–9.
  • Sumithran P & Proietto J. The defence of body weight: a physiological basis for weight regain after weight loss. Clinical Science 2013; 124:231-241.
  • National Institutes of Health. Clinical Guidelines On The Identification, Evaluation, And Treatment Of Overweight And Obesity In Adults 1988.
  • Rand K et al. It is not the diet; it is the mental part we need help with. A multilevel analysis of psychological, emotional, and social well-being in obesi-ty. International Journal of Qualitative Studies on Health and Well-being 2017; 12:1-14.
  • Yumuk V et al. European Guidelines for Obesity Management in Adults. Obesity Facts 2015; 8:402-424.
  • Warkentin et al. The effect of weight loss on health‐related quality of life: systematic review and meta‐analysis of randomized trials. Obes Rev 2014;
    15:169–82.
  • Berthoud H, Münzberg H, & Morrison, CD. Blaming the brain for obesity. Gastroenterology 2017; 152(7):1728-1738.
  • Astrup A. Dietary treatment of overweight and obesity. In: Thomas A. Wadden & George A. Bray (eds.). Handbook of Obesity Treatment. New York:
    Guilford Press 2018: 309-321.
  • Caterson ID et al. Gaps to bridge: Misalignment between perception, reality and actions in obesity. Diabetes Obes Metab 2019; 21(8): 1914-1924.

TH25OB00054

ค้นหาผู้ให้บริการจัดการน้ำหนักในท้องถิ่นของคุณ

พูดคุยกับผู้ให้บริการปรึกษาการจัดการน้ำหนักของคุณเกี่ยวกับตัวเลือกการรักษาที่อาจทําให้น้ำหนักที่คุณลดไม่กลับมาอีก

สิ่งนี้มีประโยชน์สําหรับคุณหรือไม่

คุณอาจจะชอบ