- Gallup. Gallup Global Emotions 2019.
- American Psychological Association. How stress affects your health: https://www.apa.org/helpcenter/stress [Accessed July 2019].
- Stults-Kolehmainen MA & Sinha R. The Effects of Stress on Physical Activity and Exercise. Sports Medicine 2014; 44:81-121.
- Zellner DA et al. Food selection changes under stress. Physiology and Behavior 2006; 87(5):789-793.
- Valk ES, Savas M & Rossum E. Stress and Obesity: Are There More Susceptible Individuals? Current Obesity Reports 2018; 7:193–203.
- Forman E & Butryn M. Effective Weight Loss: An Acceptance-Based Behavioral Approach - Treatments That Work (Workbook Ed.). New York: Oxford University Press 2016.
- Harvard Mental Health Letter. Why stress causes people to overeat. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/why-stress-causes-people-to-overeat [Accessed July 2019].
ความเครียดกับภาวะโรคอ้วน: ทําไมเราถึงชอบทานอาหารเวลามีความเครียด
เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียดเมื่อพบเจอกับสถานการณ์ที่ท้าทายในชีวิต และยังพบได้บ่อยมาก โดยแบบสํารวจทั่วโลกของ Gallup ในปี 2018 กล่าวว่า ร้อยละ 35 ของผู้คนใน 142 ประเทศพวกเขารู้สึกเครียดมากในแต่ละวัน ความเครียดนี้มักเกิดขึ้นในระยะสั้น เช่น ความกังวลเกี่ยวกับวันครบกําหนดส่งงานที่ใกล้จะมาถึง และยังเป็นแรงกระตุ้นเชิงบวกให้เราลงมือทำบางอย่าง
แต่ถ้าเรารู้สึกเครียดเป็นเวลานาน สุขภาพของเราอาจจะแย่ลง เรานอนหลับได้ไม่ดีและไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย รูปแบบการบริโภคของเราก็เปลี่ยนไปเช่นกัน และเรามีความอยากรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ปฏิกิริยาที่เกิดจากความเครียดทั้งหมดมีบทบาทในการทําให้เรามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดภาวะโรคอ้วน
การรับประทานอาหารคือสิ่งบรรเทาความเครียด
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองแบบ “สู้หรือหนี” ของร่างกายของเรา ซึ่งช่วยให้เราอยู่รอดในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายมานานหลายพันปี และปกติแล้วเราจะประสบการณ์แค่ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่ผู้คนในทุกวันนี้รู้สึกเครียดมากในแต่ละวันของพวกเขา ซึ่งทำให้ร่างกายตื่นตัวเพื่อตอบสนองกับความเครียดอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
ระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนหลักที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเครียด
ของร่างกายก็จะเพิ่มขึ้น ผลประการหนึ่งของการมีระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นก็คือ ความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเรารู้สึกเครียดอยู่ตลอดเวลา เราก็มักจะรับประทานอาหารมากขึ้นเช่นกัน
และไม่ใช่แค่อาหารชนิดไหนก็ได้ที่เราเลือกที่จะรับประทานเวลาเราเครียด งานวิจัยแสดงชี้ให้เห็นว่าเมื่อเรารู้สึกเครียดก็จะอยากอาหารที่มีพลังงานสูงมากยิ่งขึ้น นี่อาจเป็นเพราะอาหารเหล่านี้ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดลงได้ นี่คือเหตุผลว่าทําไมจึงเรียกว่า ‘การกินให้สบายใจ’
ดังนั้นความเครียดไม่เพียงแต่ทําให้เราอยากรับประทานอาหารมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนประเภทของอาหารที่เราต้องการรับประทานอีกด้วย นี่จึงอธิบายว่าเหตุใดผู้ที่ใช้ชีวิตกับภาวะโรคอ้วนจึงมีแนวโน้มที่จะมีระดับคอร์ติซอลสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ ความเครียดยังทําให้เรามีความเสี่ยงที่จะนอนหลับแย่ลง ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น และเคลื่อนไหวน้อยลง ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน
การปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับความเครียด
แล้วเราจะทําอะไรได้บ้าง มีวิธีต่าง ๆ มากมายที่ช่วยให้คุณจัดการกับสถานการณ์ตึงเครียด รวมถึงความรู้สึกเครียดได้ สําหรับแนวทางการจัดการความเครียดและการกินให้สบายใจ โปรดอ่านบทความเรื่อง Take care of yourself: 8 ways to manage stress - and weight (8 วิธีการดูแลตนเองในการจัดการความเครียดและน้ำหนัก)
รายการอ้างอิง
บทความที่เกี่ยวข้อง
You are leaving Truthaboutweight.global
The site you are entering is not the property of, nor managed by, Novo Nordisk. Novo Nordisk assumes no responsibility for the content of sites not managed by Novo Nordisk. Furthermore, Novo Nordisk is not responsible for, nor does it have control over, the privacy policies of these sites.