Go to the page content
การรักษา | 2 นาที อ่าน

ตัวเลือกการจัดการนํ้าหนักที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

มีหลายวิธีในการรักษาภาวะโรคอ้วน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยาลดน้ำหนัก หรือการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยออกแบบแผนการควบคุมนํ้าหนักให้กับคุณ โดยผสมผสานการรักษาวิธีการต่างๆ
ที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน

ภาวะโรคอ้วนเป็นโรคที่ซับซ้อนที่สามารถเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน นี่คือเหตุผลที่ศาสตราจารย์ Arya Sharma กล่าว: “วิธีการรักษาหนึ่งวิธีไม่อาจสามารถ รักษาได้กับผู้ป่วยทุกคน" เขาเป็นผู้อํานวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Obesity Canada และเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญการรักษาภาวะโรคอ้วนในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

“วิธีการรักษาที่ประสบความสําเร็จนั้นจะต้องร่วมไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยลดนํ้าหนักและป้องกันไม่ให้นํ้าหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิม” เขากล่าวเสริม ดังนั้นผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนจึงต้องการแผนการรักษาเฉพาะบุคคลที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสําหรับพวกเขา

แผนการรักษาอาจรวมถึงตัวเลือกการรักษาที่หลากหลาย และเมื่อคุณเริ่มที่จะเห็นผลในการลดน้ำหนัก การรักษาบางอย่างอาจจะต้องปรับ เพิ่มหรือลด ตามความเหมาะสมของร่างกายของคุณ และนั่นคือเหตุผล ทำไมแผนการจัดการนํ้าหนักของคุณควรได้รับการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ และอาจปรับเปลี่ยนแผนไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ขั้นตอนแรก คือ ค้นหาบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีบุคลากรทางการแพทย์จํานวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เข้าใจศาสตร์การรักษาโรคอ้วน สาเหตุของโรคและวิธีการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นอย่ายอมแพ้หากต้องใช้เวลาเล็กน้อยในการค้นหาแพทย์ที่เหมาะกับคุณ หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับวิธีการเริ่มการสนทนา คู่มือนี้สามารถให้แนวคิดในการเริ่มบทสนทนาของคุณกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะโรคอ้วนเป็นโรคที่ซับซ้อน เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาเดียว แล้วจะได้ผลเหมือนกันสำหรับทุกคน

-Freedhoff Y. & Sharma A.M. Best Weight, A practical guide to office-based obesity management, Canadian Obesity Network 2010

ดังนั้น เรามาดูตัวเลือกการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ที่บุคลากรทางการแพทย์มีในกล่องเครื่องมือของพวกเขา*

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำความเข้าใจ "วิธีการ" และ "เหตุผลว่าทําไม" เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของคุณกับอาหารที่คุณได้รับประทานเข้าไป

ลืมการอดอาหารไป เมื่อเป็นเรื่องของภาวะโรคอ้วน การเปลี่ยนวิธีการบริโภคนั้น มีความหมายมากกว่าเพียงแค่การบริโภคแคลอรีให้น้อยลง แต่แพทย์ของคุณจะนํารูปแบบการบริโภคของคุณมาพิจารณาเพื่อพัฒนาแผนการควบคุมนํ้าหนักเฉพาะของคุณ

ตัวอย่างเช่น มีบางช่วงเวลาในหนึ่งวันซึ่งคุณเสี่ยงที่จะบริโภคมากจนเกินไป หรือรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรือไม่

ปกติแล้วคุณรับประทานอาหารที่ใด คุณรับประทานอาหารเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย เครียด หรือเศร้าหรือไม่ แล้วคุณจะรู้สึกอิ่มอย่างไรหลังจากบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ คําถามเหล่านี้ให้แนวทางที่ช่วยคุณพัฒนาความสัมพันธ์กับอาหารอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เพิ่มการออกกำลังกาย

คุณไม่จําเป็นต้องวิ่งมาราธอนทุกวัน จุดเริ่มต้นคือการเพิ่มการเคลื่อนไหวเพิ่มเพียงเล็กน้อยในชีวิตประจําวันของคุณอาจส่งผลต่อคุณได้มาก หากคุณนั่งอยู่กับที่มากในช่วงกลางวัน การยืนและขยับตัวเป็นเวลาสองถึงสามนาทีในแต่ละชั่วโมงจะสร้างความแตกต่างให้คุณได้ ดังนั้น ลองเดินไปยังร้านค้าหรือขึ้นบันได แทนที่จะนั่งรถและขึ้นลิฟท์ หากทำได้

สิ่งที่สําคัญคือ คุณได้ค้นพบวิธีออกกําลังกายที่ตัวเองชอบทุกวัน หมั่นทำในทุก ๆ วัน เป้าหมายคือการออกกําลังกายให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ปรับตัวให้คุ้นเคยไปทีละเล็กทีละน้อยโดยค่อย ๆ เพิ่มกิจกรรมใหม่ ๆ ในชีวิตประจำวันของคุณที่คุณเพลิดเพลินและทำได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร่างกายและจิตใจของเราเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง นักบําบัดพฤติกรรมทํางานในแง่มุมทางจิตวิทยาของการควบคุมนํ้าหนัก ช่วยให้คุณสามารถระบุรูปแบบของความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น ทำให้อยากรับประทานอาหารและตามด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นการบริโภคอาหารปริมาณมาก และ/หรือรับประทานของว่างบ่อย ๆ และ/ดื่มเมื่อคุณไม่รู้สึกหิว

สิ่งที่มุ่งเน้นในที่นี้คือ การส่งเสริมให้คุณพัฒนาทักษะที่จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับประทานอาหารและช่วยให้คุณรักษาระดับการลดนํ้าหนักในระยะยาวและมีสุขภาพที่ดี

ผลิตภัณท์ทดแทนมื้ออาหาร / อาหารพลังงานต่ำ

ผลิตภัณท์ทดแทนมื้ออาหาร คือผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมแคลอรี่ซึ่งมีสารอาหารที่จําเป็น วิตามิน และแร่ธาตุครบถ้วน ผลิตภัณท์ทดแทนมื้ออาหารมักจะมีโปรตีนสูงและไขมันและคาร์โบไฮเดรตต่ำ

ผลิตภัณท์ทดแทนมื้ออาหารอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการควบคุมอาหารโดยแทนที่อาหารตั้งแต่หนึ่งมื้อขึ้นไปในแต่ละวันด้วยอาหารหรือสูตรที่ให้ ในจํานวนแคลอรี่ที่กำหนดให้เป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ระหว่าง 800 ถึง 1,200 แคลอรี่ต่อวัน

ยาลดความอ้วนที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เหมือนกับการที่เราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ด้วยความคิดของเรา เราก็ไม่สามารถควบคุมกระบวนการทางชีววิทยาบางอย่างที่ส่งผลต่อความอยากอาหารของเราได้เช่นกัน นี่คือจุดที่ยาลดความอ้วนเข้ามามีบทบาท โดยทำงานกับกระบวนการทางชีวภาพที่แตกต่างกันเหล่านี้

ยาต่างชนิดออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ยาลดความอ้วนบางตัวช่วยควบคุมความอยากอาหารและลดปริมาณการรับประทานอาหาร ซึ่งจะช่วยให้คุณรับประทานอาหารได้น้อยลงและทําให้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินชีวิตง่ายขึ้น

ยาลดความอ้วนยังอาจช่วยป้องกันไม่ให้นํ้าหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิม โดยจัดการกับการตอบสนองทางชีวภาพของร่างกายต่อการลดนํ้าหนัก เช่น จัดการกับความรู้สึกหิวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาอื่น ๆ ช่วยให้คุณลดนํ้าหนักได้โดยการเปลี่ยนวิธีการที่ร่างกายดูดซึมอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณไขมันที่ร่างกายดูดซึม

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน

กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การทำเช่นนี้ช่วยลดความอยากอาหารและปริมาณอาหารที่คนเราสามารถรับประทานได้ในคราวเดียว และแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมและฮอร์โมน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีบทบาทสําคัญในการควบคุมนํ้าหนัก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้นํ้าหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิม

A professional in a grey jacket taking some notes and talking to a patient; office

การค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสําหรับคุณ

แพทย์ของคุณจะช่วยสร้างแผนการควบคุมนํ้าหนักเฉพาะบุคคลของคุณ แต่พวกเขาก็ไม่สามารถทํานายได้ว่าคุณจะตอบสนองต่อการรักษาต่าง ๆ ที่แพทย์แนะนําอย่างไร เราทุกคนแตกต่างกัน และนั่นยังรวมถึงการตอบสนองต่อการรักษาของเราก็แตกต่างไปในแต่ละบุคคลอีกด้วย

นั่นเป็นเหตุผลที่แพทย์ของคุณอาจปรับแผนการควบคุมนํ้าหนักของคุณไปพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายและความต้องการด้านสุขภาพของคุณ

ภาวะน้ำหนักนิ่ง (Weight Plateau)

ไม่ว่าจะใช้แนวทางใดเป็นแผนการควบคุมนํ้าหนัก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งน้ำหนักจะเริ่มหยุดนิ่งและค้างอยู่ในระดับเดิม ซึ่งเรียกว่า “ภาวะน้ำหนักนิ่ง” (Weight Plateau) ส่วนหนึ่งของเส้นทางการลดนํ้าหนักที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ซึ่งอาจนําไปสู่ความเครียดและท้อแท้

อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำหนักนิ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวตามธรรมชาติเมื่อนํ้าหนักลดลง (ในแง่ของวิวัฒนาการ นํ้าหนักที่ลดลงนั้นไม่เป็นผลดีต่อการรอดชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์) ดังนั้นร่างกายจึงค่อย ๆ ปรับตัว มักรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ในขณะเดียวกันร่างกายก็ชะลอการใช้พลังงาน การศึกษาวิจัย ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะเช่นนี้อาจใช้เวลานานหลายปี จึงไม่น่าแปลกใจที่ในระยะยาว คน 8 ใน 10 คน กลับมาอ้วนเหมือนเดิม นี่เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ที่ว่า แม้ว่าเราจะมีความตั้งใจดีในการลดน้ำหนัก แต่ร่างกายของเรามักจะมีระบบสมดุลของตนเองที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติโดยเกิดจากวิวัฒนาการของมนุษย์นับล้านปี

ผู้ที่ประสบกับภาวะน้ำหนักนิ่งมักกล่าวว่า: “จะมีประโยชน์อะไรในการที่ฉันจะลดน้ำหนัก เพราะมันไม่ได้ผลอีกแล้ว!” หรือ “ฉันไม่รู้จะทำยังไงแล้ว เพราะไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ดูจะไม่ได้ผล ฉันอาจพอแค่นี้”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรามักจะไม่รู้ก็คือการรักษาระดับนํ้าหนักตัวที่ลดลงมาแล้วให้คงที่ เป็นงานที่ใช้ความพยายามมากกว่าการทำให้น้ำหนักลดลงซะอีก ด้วยเหตุนี้ แพทย์จํานวนไม่น้อยจึงแนะนำว่าภาวะน้ำหนักนิ่งก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

โดยวิธีการรักษาที่คุณกําลังทำอยู่ในขณะนี้ อาจทำงานเพื่อ ควบคุมน้ำหนักให้ไม่เพิ่มขึ้น โดยต่อสู้กับระบบสมดุลของร่างกาย ถึงแม้น้ำหนักของคุณจะไม่ลดลงเพิ่มก็ถาม จะมีประโยชน์อะไร ถ้าคุณลดนํ้าหนักลงได้ แต่ไม่ได้ส่งผลทำให้สุขภาพหรือคุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้น คุณจึงควรภูมิใจกับทั้งความพยายามและความมุ่งมั่นที่ได้ทุ่มเทลงไปเพื่อมาให้ถึงยังจุดที่คุณอยู่ในทุกวันนี้
คุณทำดีแล้ว พยายามต่อไปและทำนัดกับแพทย์เพื่อทบทวนแผนการควบคุมน้ำหนักของคุณ
ดูว่ายังจำเป็นต้องเข้มงวดกับแนวทางเดิมหรือจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน

* การรักษาบางวิธีอาจทําให้เกิดผลข้างเคียง ข้อมูลนี้จะไม่ควรถือว่าเป็นคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการรักษา ปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์เพื่อขอคําแนะนําในการรักษาเสมอ

รายการอ้างอิง
  • Puhl RM & Heuer CA. Obesity Stigma: Important Considerations for Public Health. American Journal of Public Health 2010; 100:6:1019-1028.
  • Freedhoff Y. & Sharma A.M. Best Weight – A practical guide to office-based obesity management. Canadian Obesity Network 2010.
  • Wadden TA et al. Overview of the Treatment of Obesity in Adults. In: Thomas A. Wadden & George A. Bray (eds.). Handbook of Obesity Treatment. New York: Guilford Press 2018;283-308.
  • Kushner RF & Kahan S. The Emerging Field of Obesity Medicine. In: Thomas A. Wadden & George A. Bray (eds.). Handbook of Obesity Treatment. New York: Guilford Press 2018;413-452.
  • Berthoud H, Münzberg H., & Morrison, C.D. Blaming the brain for obesity. Gastroenterology 2017;152(7):1728-1738.
  • American Association of Clinical Endocrinologists. Empower your health: Guide to physical activity: https://www.empoweryourhealth.org/sites/all/files/EmPower-Physical-Activity-Guide.pdf [Accessed July 2019].
  • Gomez-Rubalcava S, Stabbert K & Phelan S. Behavioral Treatment of Obesity. In: Thomas A Wadden & George A Bray (eds.). Handbook of Obesity Treatment. New York: Guilford Press 2018.
  • Forman E & Butryn M. Effective Weight Loss: An Acceptance-Based Behavioral Approach - Treatments That Work (Workbook Ed.). New York: Oxford University Press 2016.
  • Butryn ML, Webb V & Wadden TA. Behavioral treatment of obesity. Psychiatric Clinics 2011; 34(4):841-859.
  • Li M & Cheung BMY. Pharmacotherapy for obesity. British Journal of Clinical. Pharmacology 2009; 68:804–810.
  • Stefanidis A & Oldfield BJ. Neuroendocrine mechanisms underlying bariatric surgery: Insights from human studies and animal models. Journal of Neuroendocrinology 2017; 29:e12534.
  • Schmidt JB et al. Effects of RYGB on energy expenditure, appetite and glycaemic control: a randomized controlled clinical trial. International Journal of Obesity 2016; 40:281–290.
  • Xulong S et al. From Genetics and Epigenetics to Precision treatment of obesity: Gastroenterology Report 2017; 5(4):266–270.
  • Vanwormer FM et al. Weight-Loss Outcomes: A Systematic Review and Meta-Analysis of Weight-Loss Clinical Trials with a Minimum 1-Year Follow-Up. J Am Diet Assoc. 2007. 107:1755-1767.
  • Rosenbaum M et al. Long-term persistence of adaptive thermogenesis in subjects who have maintained a reduced body weight. Am J Clin Nutr. 2008; 88:906–912.
  • Schwartz A & Doucet É. Relative changes in resting energy expenditure during weight loss: a systematic review. Obesity Reviews. 2010; 11:531–547.
  • Hall KD & Kahan S. Maintenance of lost weight and long-term management of obesity. Medical Clinics of North America 2018; 102(1):183-197.
  • Tsai AG & Wadden TA. Treatment of Obesity in Primary Care. In: Thomas A Wadden & George A Bray (eds.). Handbook of Obesity Treatment. New York: Guilford Press 2018; 453-465.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณคืออะไร
เครื่องมือ | 5 นาที อ่าน

ดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณคืออะไร

ดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณคือตัวเลขที่คํานวณจากนํ้าหนักและส่วนสูงของคุณ โดยวิธีนี้ไม่ได้เป็นวิธีการคำนวนหาไขมันในร่างกาย แต่เป็นวิธีการคำนวนอย่างง่ายที่จะประเมินสุขภาพของคุณอย่างคร่าวๆ ว่ามีสุขภาพดีหรือไม่

ควรลดน้ำหนักเท่าไร ถึงดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ
เคล็ดลับ   Obesity Care   Medical Support

ควรลดน้ำหนักเท่าไร ถึงดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหนักที่คุณควรจะลดเพื่อให้เห็นถึงสุขภาพร่างกายที่ดีซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักทั้งที่ดีต่อใจและดีต่อสุขภาพ

ร่วมมือกับแพทย์ของคุณวางแผนในการลดน้ำหนัก
เคล็ดลับ | 5 นาที อ่าน

ร่วมมือกับแพทย์ของคุณวางแผนในการลดน้ำหนัก

ภาวะโรคอ้วนเป็นโรคที่ซับซ้อน แต่การรักษาอาจจะไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และเครื่องมือในการสร้างแผนการรักษาที่เหมาะสําหรับคุณ