The site you are entering is not the property of, nor managed by, Novo Nordisk. Novo Nordisk assumes no responsibility for the content of sites not managed by Novo Nordisk. Furthermore, Novo Nordisk is not responsible for, nor does it have control over, the privacy policies of these sites.
ก้าวไปข้างหน้า… ออกจากอาการเบื่อบ้าน สู่สังคมไร้อคติเรื่องน้ำหนัก
โดย Dr. Michael Vallis, สิงหาคม 2563
ผมมาจากแคนาดา ประเทศที่ได้ชื่อว่าปลอดภัยและเป็นมิตร
อันที่จริงผมมาจากแคนาดาตะวันออก
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นที่ที่เป็นมิตร
อาจจะมากกว่ามาตรฐานของชาวแคนาดาก็ว่าได้ แต่ตั้งแต่เดือนมีนาคม
กลายเป็นว่าเรามีความรู้สึกไม่อาจไว้ใจเพื่อนบ้านของเราได้
และเมื่อเราพบคนในร้านขายของชำที่เดินตามทางเดินที่เรายืนอยู่ด้วย
เรารู้สึกมีภัยและหวาดระแวง
ผู้ที่ยังใหม่ต่อภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมและรับรู้ถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นโดยทั่ว
กำลังรอคอยที่จะให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เว้นแต่
ความปกติจะไม่กลับไปเหมือนเดิม! เราไม่ได้หลุดพ้นจากการระบาดระลอกแรก
และเราต่างทราบว่าเราจะเจอกับการระบาดระลอกที่สองแน่นอน และเราก็คาดว่า
อาจต้องเผชิญกับไวรัสเช่นนี้มากขึ้น ดังนั้นลองพิจารณาว่า
“ความปรกติใหม่” มีหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นไปได้ไหมว่าความปรกติใหม่ของเราจะดีกว่าวิถีชีวิตแบบเดิม
ในโลกแห่งความจริงของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนนั้น
ต่างผ่านภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมมาอย่างโชกโชน
อคติและตราบาปที่มีต่อโรคอ้วนนั้นทำให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
พวกเขาหาวิธีหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีโอกาสสูงที่จะเกิดอคติเช่นนี้
การซื้อของในร้านขายของชำเวลากลางคืนเพื่อลดโอกาสที่จะมีคนวิจารณ์สิ่งของที่อยู่ในตะกร้าชอปปิง
สั่งซื้อเสื้อผ้าออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงการลองเสื้อผ้าในที่สาธารณะ ดู
Netflix
เพื่อหลีกเลี่ยงความลำบากใจเมื่อต้องนั่งที่นั่งที่ปรับเอนไม่ได้ในโรงภาพยนตร์
ผมควรอธิบายต่อไหมครับ
การรับรู้ถึงภัยคุกคามย่อมก่อให้เกิดความวิตกกังวล
นี่คือวิธีที่สมองสร้างขึ้นเพื่อความอยู่รอด
เราต้องจัดการกับภัยคุกคามก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
ดังนั้นการตอบสนองต่อภัยคุกคามต่ออันตรายทางสังคม (การถูกดูหมิ่น
การวิจารณ์) ก็เท่ากับการตอบสนองต่อภัยคุกคาม ต่ออันตรายทางกายภาพ
ประสบการณ์การใช้ชีวิตของผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนในโลกที่เต็มไปด้วยอคติ ก็เหมือนกับประสบการณ์การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 บางที... แค่บางที เราอาจสามารถวาดเส้นขนานระหว่างภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ กับภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมอันเนื่องมาจากการคุกคามด้วยอคติเพื่อประโยชน์บางอย่าง
ผลเสียที่ตามมาอย่างหนึ่งที่น่าเสียดายของสัญชาตญาณการเอาตัวรอดในสังคมคือ เรามักพอใจคนที่เหมือนกับเรา และหากมีอะไรผิดในความสัมพันธ์ ก็ง่ายที่จะกล่าวโทษในความต่างระหว่างบุคคล
ดังนั้น เราจึงเริ่มเห็นว่าในบางสถานการณ์ ผู้ที่มีเชื้อสายเอเชียถูกต่อต้านด้วยอคติ เนื่องด้วยสาเหตุของโรคโควิด-19 คุณทราบหรือไม่ว่าไข้หวัดใหญ่สเปนไม่ได้เริ่มต้นที่สเปน โรคนี้มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่สเปน เพราะสเปนเป็นประเทศแรกที่ยอมรับว่ามีโรคนี้เกิดขึ้น ใช่ครับ อคติเกิดขึ้นได้ง่ายมาก
อคติเกิดขึ้นจากลักษณะการทำงานตามสัญชาตญาณของร่างกายมนุษย์
แต่เมื่อมนุษยชาติได้พัฒนาเป็นเผ่าพันธุ์
เราก็ได้ก้าวข้ามสัญชาตญาณเพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาและศีลธรรมด้วย
อันที่จริง สมองเป็นอวัยวะของพัฒนาการ
ผมต้องการบอกว่า เมื่อโครงสร้างสมองใหม่พัฒนาขึ้นตามวิวัฒนาการ
โครงสร้างสมองแบบเก่าก็มิได้หยุดทำงาน
การทำงานใหม่ของสมองได้พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบเก่า
ในเชิงจิตวิทยา เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ
ซึ่งหมายความว่าเรามีระบบจิตวิทยา 2 ระบบที่ทำงานอยู่
การทำงานของสมองตามสัญชาตญาณในยุคดึกดำบรรพ์แบบเดิมนั้นอยู่ในสมองส่วนกลาง
ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานที่เป็นไปตามอารมณ์และควบคุมไม่ได้
(“ฉันต้องการสิ่งนี้ ฉันต้องการทั้งหมด ฉันต้องการตอนนี้”)
และในเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (กลีบของเปลือกสมองตรงหน้าผาก)
เรามีระบบบริหาร ส่วนนี้คือระบบที่ใช้คิดตรรกะและปัญญา
ซึ่งสามารถแก้ปัญหา คิดตรึกตรอง และการอดทนรอคอยสิ่งที่พึงใจ
หลายครั้งที่เราประสบกับความตึงเครียดระหว่างสองระบบนี้
คุณรู้สึกอย่างไร คุณควรทำอย่างไร
สังเกตได้ว่าบ่อยครั้งที่คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ไม่เหมือนกัน
ระบบที่เป็นไปตามอารมณ์ต้องการความพึงพอใจในทันทีและคิดโดยอัตโนมัติ
(เช่น “เหมือนกับฉันคือดี ไม่เหมือนฉันคือแย่”)
ระบบที่ใช้เหตุผลจะพิจารณาถึงหลักการและคุณค่า (เช่น
“อย่าตัดสินคนจากภายนอก เราทุกคนเท่าเทียมกัน”)
ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมจะมีเพียงชั่วคราว
เรากำลังเริ่มที่จะออกจากบ้านกันแล้ว เมื่อเรากลับมาเข้าสังคมอีกครั้ง
ผมอยากรู้ว่าเราจะเลือกให้ที่แห่งนี้เป็นสังคมที่ต่างไปจากเดิมได้หรือไม่
อคติเป็นปัญหาที่เราแก้ไขได้
อคติต่อผู้ที่มีเชื้อสายเอเชียนั้นไม่ยุติธรรมเลย
คตินิยมเชื้อชาติอย่างเป็นระบบต่อคนผิวสี (Black Lives do Matter)
และอคติต่อผู้ที่มีรูปร่างใหญ่กว่านั้นก็ไม่ยุติธรรมเช่นกัน
ในฐานะนักจิตวิทยา
บางครั้งผมก็สนับสนุนให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
ยกตัวอย่าง ลองนึกภาพว่าคุณเป็นคนสูบบุหรี่และกำลังจะเปลี่ยนงาน
ผมอาจจะขออนุญาตใช้โอกาสในการเริ่มงานใหม่นี้มาเป็นตัวช่วย
หากบุคคลนั้นสนใจที่จะเลิกบุหรี่
นั่นคือการเข้าไปทำงานใหม่ในฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่
บอกผู้คนในที่ทำงานใหม่ของคุณว่าคุณไม่สูบบุหรี่และทำให้ตนเป็นผู้ไม่สูบบุหรี่จริง ๆ
วิธีนี้สามารถช่วยได้เพราะมันจะเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่และเปลี่ยนแนวทางที่ผู้คนรับรู้ถึงคุณ โรคโควิด-19 อาจคล้ายกับงานใหม่ เราสามารถกลับเข้าสู่สังคมโดยทำเสมือนว่าเป็นสังคมใหม่ นี่คือสิ่งสำคัญในตอนนี้การเป็นคนเอเชียไม่ได้แปลว่าคุณเป็นต้นเหตุของโรคโควิด-19 การเป็นคนผิวสีไม่ได้หมายความว่าคุณสมควรถูกเลือกปฏิบัติ และการมีรูปร่างใหญ่กว่าก็ไม่ใช่ปมด้อย
ข้อจำกัดความรับผิด: มุมมองและความคิดเห็นในบล็อกนี้เป็นมุมมองและความคิดเห็นของผู้เขียน ซึ่งมิได้สะท้อนถึงนโยบายทางการหรือจุดยืนของหน่วยงาน องค์กร นายจ้าง หรือบริษัทอื่นใด